เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [5. จัมมขันธกะ] 147. โสณโกฬิวิสวัตถุ
ปวิเวก เพราะสิ้นราคะ เพราะปราศจากราคะ ย่อมเป็นผู้น้อมไปในปวิเวก เพราะสิ้น
โทสะ เพราะปราศจากโทสะ ย่อมเป็นผู้น้อมไปในปวิเวก เพราะสิ้นโมหะ เพราะ
ปราศจากโมหะ
พระพุทธเจ้าข้า บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้สำคัญไปว่า “ท่านรูปนี้
ถือสีลัพพตปรามาส1โดยเป็นสาระแน่ จึงน้อมไปในความไม่เบียดเบียน’ แต่ข้อนี้ก็
ไม่พึงเห็นอย่างนั้น เพราะพระขีณาสพผู้อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว
ไม่เห็นว่าตนยังจะต้องทำอะไรอีกหรือต้องไปสั่งสมกิจที่ทำแล้ว ย่อมเป็นผู้น้อมไปใน
ความไม่เบียดเบียน เพราะสิ้นราคะ เพราะปราศจากราคะ ย่อมเป็นผู้น้อมไปใน
ความไม่เบียดเบียน เพราะสิ้นโทสะ เพราะปราศจากโทสะ ย่อมเป็นผู้น้อมไปใน
ความไม่เบียดเบียน เพราะสิ้นโมหะ เพราะปราศจากโมหะ
พระพุทธเจ้าข้า บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้น้อม
ไปในความสิ้นอุปาทาน เพราะสิ้นราคะ เพราะปราศจากราคะ ย่อมเป็นผู้น้อมไป
ในความสิ้นอุปาทาน เพราะสิ้นโทสะ เพราะปราศจากโทสะ ย่อมเป็นผู้น้อมไปใน
ความสิ้นอุปาทาน เพราะสิ้นโมหะ เพราะปราศจากโมหะ
พระพุทธเจ้าข้า บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้น้อม
ไปในความสิ้นตัณหา เพราะสิ้นราคะ เพราะปราศจากราคะ ย่อมเป็นผู้น้อมไปใน
ความสิ้นตัณหา เพราะสิ้นโทสะ เพราะปราศจากโทสะ ย่อมเป็นผู้น้อมไปใน
ความสิ้นตัณหา เพราะสิ้นโมหะ เพราะปราศจากโมหะ
พระพุทธเจ้าข้า บางทีจะมีบางท่านในพระธรรมวินัยนี้ ฯลฯ ย่อมเป็นผู้
น้อมไปในความไม่ลุ่มหลง เพราะสิ้นราคะ เพราะปราศจากราคะ ย่อมเป็นผู้น้อม

เชิงอรรถ :
1 สีลัพพตปรามาส คือ ความยึดถือว่าบุคคลจะบริสุทธิ์หลุดพ้นได้ด้วยศีลและพรต เป็นเพียงความยึดถึอ
ที่อิงอาศัยศีลและพรต (วิ.อ. 3/243/165)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :10 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [5. จัมมขันธกะ] 147. โสณโกฬิวิสวัตถุ
ไปในความไม่ลุ่มหลง เพราะสิ้นโทสะ เพราะปราศจากโทสะ ย่อมเป็นผู้น้อมไปใน
ความไม่ลุ่มหลง เพราะสิ้นโมหะ เพราะปราศจากโมหะ
ถ้ารูปารมณ์ที่รุนแรงอันจะพึงรับรู้ทางตา มาปรากฏทางตาของภิกษุผู้มีจิตหลุด
พ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ รูปารมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้นได้เลย
จิตของภิกษุนั้นไม่ถูกอารมณ์ครอบงำ เป็นธรรมชาติมั่นคงหนักแน่น และภิกษุนั้น
ก็พิจารณาเห็นความเกิดดับของจิตนั้น
ถ้าสัททารมณ์ที่รุนแรงอันจะพึงรับรู้ทางหู ...
ถ้าคันธารมณ์ที่รุนแรงอันจะพึงรับรู้ทางจมูก ...
ถ้ารสารมณ์ที่รุนแรงอันจะพึงรับรู้ทางลิ้น ...
ถ้าโผฏฐัพพารมณ์ที่รุนแรงอันจะพึงรับรู้ทางกาย ...
ถ้าธรรมารมณ์ที่รุนแรงอันจะพึงรับรู้ทางใจ มาปรากฏทางใจของภิกษุผู้มีจิต
หลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ ธรรมารมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ครอบงำจิตของภิกษุนั้น
ได้เลย จิตของภิกษุนั้นไม่ถูกอารมณ์ครอบงำ เป็นธรรมชาติมั่นคงหนักแน่น และ
ภิกษุนั้นก็พิจารณาเห็นความเกิดดับของจิตนั้น
พระพุทธเจ้าข้า ภูเขาศิลาล้วน ไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบอันเดียวกัน
ถ้าลมฝนอย่างแรงพัดมาจากทิศตะวันออก ก็ทำภูเขานั้นให้หวั่นไหวสั่นสะเทือนไม่ได้
ถ้าลมฝนอย่างแรงพัดมาจากทิศตะวันตก ...
ถ้าลมฝนอย่างแรงพัดมาจากทิศเหนือ ...
ถ้าลมฝนอย่างแรงพัดมาจากทิศใต้ ก็ทำภูเขานั้นให้หวั่นไหวสั่นสะเทือนไม่ได้
แม้ฉันใด
พระพุทธเจ้าข้า ถ้ารูปารมณ์ที่รุนแรงอันจะพึงรับรู้ทางตา มาปรากฏทางตา
ของภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วโดยชอบอย่างนี้ รูปารมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ครอบงำจิต


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 5 หน้า :11 }