เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 17. ปณามิตกถา
3. มีความละอายอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์
4. มีความเคารพอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์
5. มีความหวังดีอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์
ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ 5 เหล่านี้ ไม่ควรที่
จะถูกประณาม
ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ 5 เมื่ออุปัชฌาย์ไม่ประณาม
ย่อมมีโทษ เมื่อประณาม ย่อมไม่มีโทษ คือ
1. ไม่มีความรักอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์
2. ไม่มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์
3. ไม่มีความละอายอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์
4. ไม่มีความเคารพอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์
5. ไม่มีความหวังดีอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์
ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ 5 เหล่านี้ เมื่ออุปัชฌาย์ไม่
ประณาม ย่อมมีโทษ เมื่อประณาม ย่อมไม่มีโทษ
ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ 5 เมื่ออุปัชฌาย์ประณาม
ย่อมมีโทษ เมื่อไม่ประณาม ย่อมไม่มีโทษ คือ
1. มีความรักอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์
2. มีความเลื่อมใสอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์
3. มีความละอายอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์
4. มีความเคารพอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์
5. มีความหวังดีอย่างยิ่งในอุปัชฌาย์
ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกผู้ประกอบด้วยองค์ 5 เหล่านี้ เมื่ออุปัชฌาย์
ประณาม ย่อมมีโทษ เมื่อไม่ประณาม ย่อมไม่มีโทษ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :96 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 17. ปณามิตกถา
มูลเหตุให้เกิดการอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม
เรื่องพราหมณ์ซูบผอมเพราะไม่ได้บวช
[69] สมัยนั้น พราหมณ์คนหนึ่ง เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายขอการบรรพชา
ภิกษุทั้งหลายไม่ประสงค์จะให้เขาบรรพชา
เขาเมื่อไม่ได้การบรรพชาในหมู่ภิกษุ จึงซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง
เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง
พระผู้มีพระภาคทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์นั้นซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง
เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง จึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทำไมพราหมณ์
ผู้นั้นจึงได้ซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่งเล่า”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “พราหมณ์นั่นได้เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายขอการ
บรรพชา ภิกษุทั้งหลายไม่ประสงค์จะให้เขาบรรพชา เขาเมื่อไม่ได้การบรรพชาใน
หมู่ภิกษุ จึงซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง พระพุทธเจ้าข้า”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ใคร
ระลึกความดีของพราหมณ์นั้นได้บ้าง”
เมื่อตรัสถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มีภาคดังนี้ว่า “ข้า
พระองค์ระลึกความดีของพราหมณ์นั้นได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“สารีบุตร เธอระลึกความดีอะไรของพราหมณ์นั้นได้”
“พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์นี้ พราหมณ์
นั้นได้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง ข้าพระองค์ระลึกความดีนี้ของพราหมณ์นั้นได้ พระ
พุทธเจ้าข้า”
“ดีละ ๆ สารีบุตร จริงอยู่ สัตบุรุษทั้งหลายเป็นผู้กตัญญูกตเวที สารีบุตร
ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้พราหมณ์นั้นบรรพชาอุปสมบทเถิด”
“ข้าพระองค์จะให้พราหมณ์นั้นบรรพชาอุปสมบทอย่างไร พระพุทธเจ้าข้า”


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :97 }