เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 15. อุปัชฌายวัตตกถา
บนของเคี้ยวบ้าง บนของลิ้มบ้าง บนน้ำดื่ม ออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง
ด้วยตนเองมาแน ส่งเสียงดังในโรงฉันบ้าง
คนทั้งหลายพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนสมณะเชื้อสาย
ศากยบุตร ทั้งหลายจึงนุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมารยาทไม่สมควร เที่ยวบิณฑบาต
เมื่อคนทั้งหลาย กำลังบริโภค ก็ยื่นบาตรสำหรับเที่ยวบิณฑบาตเข้าไปบนของ
บริโภคบ้าง บนของเคี้ยวบ้าง บนของลิ้มบ้าง บนน้ำดื่มบ้าง ออกปากขอแกงบ้าง
ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉัน ส่งเสียงดังในโรงฉันบ้าง เหมือนพวกพราหมณ์ใน
สถานที่เลี้ยงพราหมณ์ฉะนั้นเล่า”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นกล่าวตำหนิอ ประณาม โพนทะนา บรรดา
ภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษา จึง
ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุทั้งหลายจึงนุ่งห่มไม่เรียบร้อย มี
มารยาทไม่สมควร เที่ยวบิณฑบาต เมื่อคนทั้งหลายกำลังบริโภค ก็ยื่นบาตร
สำหรับเที่ยวบิณฑบาตเข้าไปบนของบริโภคบ้าง บนของเคี้ยวบ้าง บนของ
ลิ้มบ้าง บนน้ำดื่มบ้าง ออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉัน
ส่งเสียงดังในโรงฉันบ้างเล่า” แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์สอบถาม
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ
ทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่าพวกภิกษุนุ่งห่มไม่เรียบร้อย
มีมารยาทไม่สมควร เที่ยวบิณฑบาต เมื่อคนทั้งหลายกำลังบริโภค ก็ยื่นบาตร
สำหรับเที่ยวบิณฑบาตเข้าไปบนของบริโภคบ้าง บนของเคี้ยวบ้าง บนของลิ้มบ้าง
บนน้ำดื่มบ้าง ออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉัน ส่งเสียงดัง
แม้ในโรงฉันบ้าง จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลาย ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษ
เหล่านั้น ไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้
ไม่ควรทำเลย ไฉนโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้นุ่งห่มไม่เรียบร้อย มีมารยาทไม่สมควร

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :80 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 15. อุปัชฌายวัตตกถา
เที่ยวบิณฑบาต เมื่อคนทั้งหลายกำลังบริโภค ก็ยื่นบาตรสำหรับเที่ยวบิณฑบาต
เข้าไปบนของบริโภคบ้าง บนของเคี้ยวบ้าง บนของลิ้มบ้าง บนน้ำดื่มบ้าง
ออกปากขอแกงบ้าง ข้าวสุกบ้าง ด้วยตนเองมาฉัน ส่งเสียงดังแม้ในโรงฉันบ้างเล่า
ภิกษุทั้งหลาย การกระทำของพวกโมฆบุรุษนั่น มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส
หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริง กลับจะทำให้คนที่ไม่
เลื่อมใสให้ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวก ก็จะกลายเป็นอื่นไป”

ทรงอนุญาตอุปัชฌาย์
ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิภิกษุเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้ว ได้ตรัส
โทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก บำรุงยาก มักมาก ไม่สันโดษ ความคลุกคลี
ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย บำรุงง่าย มักน้อย สันโดษ
ความขัดเกลา ความกำจัดกิเลส อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภ
ความเพียร โดยประการต่าง ๆ ทรงแสดงธรรมีกถาให้เหมาะสม ให้คล้อยตาม
กับเรื่องนั้นแล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
[65] ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอุปัชฌาย์ อุปัชฌาย์จักเข้าไปตั้งจิตสนิท
สนมในสัทธิวิหาริกฉันบุตร สัทธิวิหาริก1จักเข้าไปตั้งจิตสนิทสนมในอุปัชฌาย์ฉันบิดา
เมื่อเป็นเช่นนี้ อุปัชฌาย์และสัทธิวิหาริกจักมีความเคารพ ยำเกรงประพฤติ
กลมเกลียวกัน จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้

วิธีถืออุปัชฌาย์
ภิกษุทั้งหลาย สัทธิวิหาริกพึงถืออุปัชฌาย์อย่างนี้
สัทธิวิหาริกพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า นั่งกระโหย่ง
ประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านผู้เจริญ ท่านจงเป็นอุปัชฌาย์ของข้าพเจ้าเถิด

เชิงอรรถ :
1 สัทธิวิหาริก แปลว่า ผู้อยู่ด้วยกัน เป็นคำเรียกผู้ที่ได้รับอุปสมบท ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌาย์รูปใด
ก็เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌาย์รูปนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :81 }