เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 13. พิมพิสารสมาคมกถา
กัสสปะ เราถามข้อความนี้กะท่าน
ไฉนท่านจึงละการบูชาไฟของท่านเสียเล่า”
พระอุรุเวลกัสสปะทูลตอบว่า
“ยัญทั้งหลายกล่าวสรรเสริญกามทั้งหลาย
คือ รูป เสียง รสและสตรีทั้งหลาย
ข้าพระองค์ได้รู้ในอุปธิ1ว่า นั่นเป็นมลทิน
เพราะฉะนั้น จึงมิได้ยินดีในการเซ่นสรวง มิได้ยินดีในการบูชา”
“กัสสปะ ใจของท่านไม่ยินดีในรูป เสียงและรสเหล่านั้นแล้ว
เมื่อเป็นเช่นนั้น ใจของท่านยินดีในสิ่งไรเล่า
ในเทวโลกหรือมนุษยโลก กัสสปะ ท่านจงบอกสิ่งนั้นแก่เรา”
“ข้าพระองค์ได้เห็นบทอันสงบ2 ไม่มีอุปธิ ไม่มีกังวล
ไม่ข้องอยู่ในกามภพ มีอันไม่แปรเป็นอย่างอื่น
ไม่ใช่ธรรมที่ผู้อื่นจะพึงแนะให้ได้
เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงมิได้ยินดีในการเซ่นสรวงมิได้ยินดีใน
การบูชา”
[56] ลำดับนั้น ท่านพระอุรุเวลกัสสปะลุกขึ้นจากอาสนะห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่า
ข้างหนึ่ง ซบศีรษะแทบพระบาทพระผู้มีพระภาค กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก”
ขณะนั้น พราหมณ์คหบดีชาวมคธทั้ง 12 นหุตเหล่านั้นก็ทราบว่า “พระ
อุรุเวลกัสสปะประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระมหาสมณะ”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบความรำพึงในใจของพราหมณ์คหบดีชาว
มคธ 12 นหุตเหล่านั้นด้วยพระทัย จึงได้ตรัสอนุปุพพิกถา คือ ทรงประกาศ

เชิงอรรถ :
1 อุปธิ ในที่นี้หมายถึงขันธุปธิ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์อันมีขันธ์เป็นมูล (สารตฺถ.ฎีกา 3/55/260)
2 บทอันสงบ ในที่นี้หมายถึงบทคือพระนิพพานที่มีสภาพสงบ ที่ชื่อว่า ไม่แปรเป็นอย่างอื่น เพราะไม่มีชาติ
ชรา และมรณะ (วิ.อ.3/55/27)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :67 }