เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 12.อุรุเวลปาฎิหาริยกถา
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พวกเธอจงมาเป็นภิกษุเถิด” แล้วตรัสต่อไปว่า
“ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดย
ชอบเถิด”
พระวาจานั้น ได้เป็นการอุปสมบทของท่านเหล่านั้น
ชฎิลเหล่านั้นผ่าฟืน 500 ท่อนไม่ได้ กลับผ่าได้ ก่อไฟไม่ติด กลับก่อไฟติด
ดับไฟไม่ได้ กลับดับได้ ด้วยการอธิษฐานของพระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาคทรงเนรมิตภาชนะใส่ไฟไว้ 500 ชุด ปาฏิหาริย์ 3,500 วิธี
ย่อมมีโดยนัยนี้

อาทิตตปริยายสูตร1
[54] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม
ตามพระอัธยาศัยได้เสด็จจาริกไปยังตำบลคยาสีสะ พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ ราว
1,000 รูป ล้วนเคยเป็นชฎิลทั้งนั้น ทราบว่า พระองค์ประทับอยู่ ณ ตำบล
คยาสีสะ ใกล้แม่น้ำคยานั้น พร้อมด้วยภิกษุ 1,000 รูป ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า
“ภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ก็อะไรเล่าชื่อว่าสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน
ภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของร้อน
ภิกษุทั้งหลาย รูปทั้งหลายเป็นของร้อน
ภิกษุทั้งหลาย จักขุวิญญาณเป็นของร้อน
ภิกษุทั้งหลาย จักขุสัมผัสเป็นของร้อน
แม้ความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือที่มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้น
เพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัยก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ร้อนเพราะ
ไฟคือราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะ
ความแก่ เพราะความตาย เพราะความโศก เพราะความคร่ำครวญ เพราะทุกข์
เพราะโทมนัส เพราะความคับแค้นใจ

เชิงอรรถ :
1 สํ.สฬา. (แปล) 18/28/27

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :63 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 12. อุรุเวลปาฏิหาริยกถา
โสตะ(หู)เป็นของร้อน เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน ฯลฯ
ฆานะ(จมูก)เป็นของร้อน กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน ฯลฯ
ชิวหา(ลิ้น)เป็นของร้อน รสทั้งหลายเป็นของร้อน ฯลฯ
กายเป็นของร้อน โผฏฐัพพะ(สิ่งที่กายสัมผัสถูกต้อง)ทั้งหลายเป็นของร้อน ฯลฯ
มนะ(ใจ)เป็นของร้อน ธรรม(อารมณ์)ทั้งหลายเป็นของร้อน มโนวิญญาณ
(ความรู้ทางใจ)เป็นของร้อน มโนสัมผัส(การกระทบทางใจ)เป็นของร้อน แม้ความ
เสวยอารมณ์ ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือที่มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัย ก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟคือราคะ
เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่เพราะ
ความตาย เพราะความโศก เพราะความคร่ำครวญ เพราะทุกข์ เพราะโทมนัส
เพราะความคับแค้นใจ
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับเห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูปทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักขุวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในจักขุสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์หรือที่มิ
ใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสตะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียงทั้งหลาย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่นทั้งหลาย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสทั้งหลาย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะทั้งหลาย ฯลฯ
ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่าย
แม้ในมโนวิญญาณ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมโนสัมผัส ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความ
เสวยอารมณ์ที่เป็นสุขหรือทุกข์ หรือที่มิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส
เป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น
เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณว่า หลุดพ้นแล้ว อริยสาวกย่อมรู้ชัดว่า ชาติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :64 }