เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 9.ปัพพัชชูปสัมปทากถา
ในเบื้องต้น พึงให้กุลบุตรผู้มุ่งบรรพชาและมุ่งอุปสมบท ปลงผมและหนวด
ให้ครองผ้ากาสายะ ให้ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ให้กราบเท้าภิกษุทั้งหลาย
ให้นั่งกระโหย่ง ให้ประนมมือแล้วสั่งว่า ‘เธอจงกล่าวอย่างนี้’ แล้วให้ว่าสรณคมน์ดังนี้

ไตรสรณคมน์
ว่าด้วยการถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ1

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ
สํฆํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
ทุติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
แม้ครั้งที่ 2
ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ
แม้ครั้งที่ 2
ทุติยมฺปิ สํฆํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
แม้ครั้งที่ 2
ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ
แม้ครั้งที่ 3
ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นสรณะ
แม้ครั้งที่ 3
ตติยมฺปิ สํฆํ สรณํ คจฺฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ
แม้ครั้งที่ 3

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตบรรพชาอุปสมบทด้วยไตรสรณคมน์เหล่านี้”
ปัพพัชชูปสัมปทากถา จบ

เชิงอรรถ :
1 สรณะ หมายถึงสิ่งที่ทำลาย ขจัดปัดเป่า บรรเทาทุกข์ภัยและกิเลส การถือพระรัตนตรัยว่าเป็นสรณะก็
เพื่อเป็นเครื่องช่วยทำลายขจัดปัดเป่าทุกข์ภัยและกิเลสต่าง ๆ ในจิตใจให้หมดสิ้น (ขุ.ขุ.อ. 6-7)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :43 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 10. ทุติยมารกถา
10. ทุติยมารกถา
ว่าด้วยมาร เรื่องที่ 2

เรื่องทรงแนะวิธีให้ได้อนุตตรวิมุตติ
[35] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงจำพรรษาแล้ว ได้รับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะมนสิการโดยแยบคาย เพราะตั้งความเพียรชอบโดย
แยบคายเราจึงได้บรรลุอนุตตรวิมุตติ ได้ทำอนุตตรวิมุตติให้แจ้ง ภิกษุทั้งหลาย
เพราะทำไว้ในใจโดยแยบคาย เพราะตั้งความเพียรชอบโดยแยบคาย แม้ท่าน
ทั้งหลายย่อมบรรลุอนุตตรวิมุตติได้ ย่อมทำอนุตตรวิมุตติให้แจ้งได้”
ลำดับนั้น มารผู้มีบาปได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นถึงแล้ว
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเป็นคาถาความว่า
“ท่านได้ถูกผูกด้วยบ่วงมาร ทั้งที่เป็นของทิพย์
ทั้งที่เป็นของมนุษย์
ท่านได้ถูกเครื่องผูกหลายประการรัดรึงแล้ว
แน่ะสมณะ ท่านไม่พ้นเราได้ดอก”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
“เราได้พ้นแล้วจากบ่วงมาร ทั้งที่เป็นของทิพย์
ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เราได้พ้นแล้วจากเครื่องผูกหลายประการ
แน่ะมารผู้กระทำซึ่งที่สุด เราได้กำจัดท่านเสียแล้ว”
ขณะนั้น มารผู้มีบาปทราบว่า “พระผู้มีพระภาคทรงรู้จักเรา พระสุคตทรงรู้
จักเรา” มีทุกข์ เสียใจ ได้หายไป ณ ที่นั้น
ทุติยมารกถา จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :44 }