เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [4. ปวารณาขันธกะ] 141. ปวารณาฐปนะ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นตอบข้อซักถามเป็นที่พอใจของเพื่อน
พรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย สงฆ์พึงบอกว่า ท่านควรฟ้องภิกษุจำเลย
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นปฏิญญาว่า ภิกษุนั้นถูกตนใส่ความ
ด้วยอาบัติปาราชิกอันไม่มีมูล สงฆ์พึงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแล้วจึงปวารณา1
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นปฏิญญาว่า ภิกษุนั้นถูกตนใส่ความ
ด้วยอาบัติสังฆาทิเสสอันไม่มีมูล สงฆ์พึงปรับอาบัติตามธรรมแล้วจึงปวารณา2
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นปฏิญญาว่า ภิกษุนั้นถูกตนใส่ความ
ด้วยอาบัติถุลลัจจัยอันไม่มีมูล... ด้วยอาบัติปาจิตตีย์... ด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ...
ด้วยอาบัติทุกกฏ... ด้วยอาบัติทุพภาสิตอันไม่มีมูล สงฆ์พึงปรับอาบัติตามธรรม
แล้วจึงปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจำเลยนั้นปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติปาราชิก
สงฆ์พึงนาสนะเสีย3 แล้วจึงปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจำเลยนั้นปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สงฆ์พึงปรับอาบัติสังฆาทิเสส แล้วจึงปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจำเลยนั้นปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติถุลลัจจัย...
อาบัติปาจิตตีย์... อาบัติปาฏิเทสนียะ... อาบัติทุกกฏ... อาบัติทุพภาสิต สงฆ์พึงปรับ
อาบัติตามธรรม แล้วจึงปวารณา

เชิงอรรถ :
1 หมายถึง ภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นยอมรับว่า ตนใส่ความภิกษุอื่นด้วยอาบัตปาราชิกไม่มีมูล ในกรณีเช่นนี้สงฆ์
ปรับภิกษุผู้เป็นโจทก์ด้วยสังฆาทิเสส (วิ.อ. 3/237/159)
2 หมายถึง พึงปรับอาบัติปาจิตตีย์ เพราะใส่ความ (โจท) ภิกษุอื่นด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล พึงปรับอาบัติ
ทุกกฏ เพราะใส่ความภิกษุอื่นด้วยอาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ หรือทุพภาสิต
ที่ไม่มีมูล (วิ.อ. 3/237/159)
3 นาสนะ ในที่นี้หมายถึง ให้สึกจากความเป็นภิกษุ (วิ.อ. 3/237/159)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :383 }