เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [4. ปวารณาขันธกะ] 141. ปวารณาฐปนะ
ได้ยินจากสิกขมานาหรือ ได้ยินจากสามเเณรหรือ ได้ยินจากสามเณรีหรือ ได้ยิน
จากอุบาสกหรือ ได้ยินจากอุบาสิกาหรือ ได้ยินจากพระราชาทั้งหลายหรือ ได้ยิน
จากราชมหาอมาตย์ทั้งหลายหรือ ได้ยินจากพวกเดียรถีย์หรือ ได้ยินจากพวกสาวก
เดียรถีย์หรือ”
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมมิได้งดปวารณาของภิกษุนี้
ด้วยได้ยินดอก แต่ผมงดปวารณาด้วยนึกสงสัยต่างหาก”
สงฆ์พึงถามภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า “ท่าน ท่านงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยนึก
สงสัยอย่างใด ท่านนึกสงสัยอะไร ท่านนึกสงสัยว่าอย่างไร ท่านนึกสงสัยเมื่อไร
ท่านนึกสงสัยที่ไหน ท่านนึกสงสัยว่า ภิกษุนี้ต้องอาบัติปาราชิกหรือ นึกสงสัยว่า
ภิกษุนี้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหรือ นึกสงสัยว่า ภิกษุนี้ต้องอาบัติถุลลัจจัย... อาบัติ
ปาจิตตีย์... อาบัติปาฏิเทสนียะ... อาบัติทุกกฏ... อาบัติทุพภาสิตหรือ ท่านได้
ยินจากภิกษุแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากภิกษุณีแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากสิก
ขมานาแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากสามเณรแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากสาม
เณรีแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากอุบาสกแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากอุบาสิกาแล้ว
นึกสงสัยหรือ ได้ยินจากพระราชาทั้งหลายแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากราชมหา
อำมาตย์ทั้งหลายแล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยินจากพวกเดียรถีย์แล้วนึกสงสัยหรือ ได้ยิน
จากพวกสาวกเดียรถีย์แล้วนึกสงสัยหรือ”
ถ้าภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านทั้งหลาย ผมมิได้งดปวารณาของภิกษุนี้
ด้วยนึกสงสัย อีกทั้งผมก็ไม่ทราบว่า ผมงดปวารณาของภิกษุนี้ด้วยเหตุอะไร”

ฟังคำปฏิญญาของโจทก์และจำเลย
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นตอบข้อซักถามไม่เป็นที่พอใจของเพื่อน
พรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย สงฆ์พึงบอกว่า ท่านไม่ควรฟ้องภิกษุจำเลย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :382 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [4. ปวารณาขันธกะ] 141. ปวารณาฐปนะ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นตอบข้อซักถามเป็นที่พอใจของเพื่อน
พรหมจารีผู้รู้ทั้งหลาย สงฆ์พึงบอกว่า ท่านควรฟ้องภิกษุจำเลย
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นปฏิญญาว่า ภิกษุนั้นถูกตนใส่ความ
ด้วยอาบัติปาราชิกอันไม่มีมูล สงฆ์พึงปรับอาบัติสังฆาทิเสสแล้วจึงปวารณา1
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นปฏิญญาว่า ภิกษุนั้นถูกตนใส่ความ
ด้วยอาบัติสังฆาทิเสสอันไม่มีมูล สงฆ์พึงปรับอาบัติตามธรรมแล้วจึงปวารณา2
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นปฏิญญาว่า ภิกษุนั้นถูกตนใส่ความ
ด้วยอาบัติถุลลัจจัยอันไม่มีมูล... ด้วยอาบัติปาจิตตีย์... ด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ...
ด้วยอาบัติทุกกฏ... ด้วยอาบัติทุพภาสิตอันไม่มีมูล สงฆ์พึงปรับอาบัติตามธรรม
แล้วจึงปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจำเลยนั้นปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติปาราชิก
สงฆ์พึงนาสนะเสีย3 แล้วจึงปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจำเลยนั้นปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสส
สงฆ์พึงปรับอาบัติสังฆาทิเสส แล้วจึงปวารณา
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุจำเลยนั้นปฏิญญาว่า ข้าพเจ้าต้องอาบัติถุลลัจจัย...
อาบัติปาจิตตีย์... อาบัติปาฏิเทสนียะ... อาบัติทุกกฏ... อาบัติทุพภาสิต สงฆ์พึงปรับ
อาบัติตามธรรม แล้วจึงปวารณา

เชิงอรรถ :
1 หมายถึง ภิกษุผู้เป็นโจทก์นั้นยอมรับว่า ตนใส่ความภิกษุอื่นด้วยอาบัตปาราชิกไม่มีมูล ในกรณีเช่นนี้สงฆ์
ปรับภิกษุผู้เป็นโจทก์ด้วยสังฆาทิเสส (วิ.อ. 3/237/159)
2 หมายถึง พึงปรับอาบัติปาจิตตีย์ เพราะใส่ความ (โจท) ภิกษุอื่นด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล พึงปรับอาบัติ
ทุกกฏ เพราะใส่ความภิกษุอื่นด้วยอาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ หรือทุพภาสิต
ที่ไม่มีมูล (วิ.อ. 3/237/159)
3 นาสนะ ในที่นี้หมายถึง ให้สึกจากความเป็นภิกษุ (วิ.อ. 3/237/159)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :383 }