เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [3. วัสสูปนายิกขันธกะ] 110. ปัญจอัปปหิตานุชานนา
6. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ สามเณรต้องการจะอุปสมบท ถ้าสามเณร
นั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “กระผมเองต้องการจะอุปสมบท ขอ
อาราธนาภิกษุทั้งหลายมา กระผมประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สามเณรนั้น
จะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสามเณรนั้นส่งทูต
มา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้อุปสมบท หรือจักช่วยสวด
กรรมวาจา หรือจักเป็นคณปูรกะ” แต่พึงกลับใน 7 วัน

สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยสามเณรี 6 กรณี
[197] 1. ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ สามเณรีเป็นไข้ ถ้าสามเณรีนั้นจะ
พึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันเป็นไข้ ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา
ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สามเณรีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วย
สัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสามเณรีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า
“เราจักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต หรือคิลานเภสัช จักถามอาการ หรือ
จักพยาบาล” แต่พึงกลับใน 7 วัน
2. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความไม่ยินดีเกิดขึ้นแก่สามเณรี ...
3. ความรำคาญเกิดขึ้นแก่สามเณรี ...
4. ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่สามเณรี ...
5. สามเณรีต้องการจะถามปี ถ้าสามเณรีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุ
ทั้งหลายว่า “ดิฉันต้องการจะถามปี ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉัน
ประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สามเณรีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาห
กรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสามเณรีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักถาม
หรือจักบอก” แต่พึงกลับใน 7 วัน
6. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ สามเณรีต้องการจะสมาทานสิกขา
ถ้าสามเณรีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันต้องการจะสมาทาน
สิกขา ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย
แม้สามเณรีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อ
สามเณรีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้สมาทานสิกขา”
แต่พึงกลับใน 7 วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :309 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [3. วัสสูปนายิกขันธกะ] 111. สัตตอัปปหิตานุชานนา
111. สัตตอัปปหิตานุชานนา
ว่าด้วยทรงอนุญาตสัตตาหกรณียะเมื่อบุคคล 7 จำพวกจะไม่ส่งทูตมา

เรื่องมารดาบิดาเป็นไข้
[198] สมัยนั้น มารดาของภิกษุรูปหนึ่งเป็นไข้ มารดานั้นส่งทูตไปในสำนัก
ภิกษุผู้เป็นบุตรว่า “ดิฉันเป็นไข้ ขอบุตรของดิฉันจงมา ดิฉันประสงค์ให้มา”
ลำดับนั้น ภิกษุนั้นคิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า เมื่อบุคคล 7
จำพวกส่งทูตมา ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อไม่ส่งทูตมา จะไปไม่ได้ สำหรับ
สหธรรมิกทั้ง 5 แม้ไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อ
สหธรรมิกทั้ง 5 นั้น ส่งทูตมา อนึ่ง มารดาของเรานี้เป็นไข้ แต่มารดานั้นไม่ได้เป็น
อุบาสิกา เราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย แม้เมื่อบุคคล 7 จำพวก คือ ภิกษุ
ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี มารดา และบิดา จะไม่ส่งทูตมา เราอนุญาต
ให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อบุคคล 7 จำพวกนั้นส่งทูตมา
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล 7 จำพวกเหล่านี้ แม้มิได้ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไป
ด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อบุคคล 7 จำพวกนั้น ส่งทูตมา
แต่พึงกลับใน 7 วัน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ มารดาของภิกษุเป็นไข้ ถ้ามารดานั้นจะพึงส่งทูตไป
ในสำนักของภิกษุผู้เป็นบุตรว่า “ดิฉันเป็นไข้ ขอบุตรของดิฉันจงมา ดิฉันประสงค์
ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้มารดานั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำ
ต้องกล่าวถึงเมื่อมารดานั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักแสวงหาคิลานภัต
คิลานุปัฏฐากภัต หรือคิลานเภสัช จักถามอาการ หรือจักพยาบาล” แต่พึงกลับ
ใน 7 วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :310 }