เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [3. วัสสูปนายิกขันธกะ] 110. ปัญจอัปปหิตานุชานนา
แม้ภิกษุณีนั้น จะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อ
ภิกษุณีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักบรรเทาความรำคาญเอง หรือจักใช้
ภิกษุอื่นให้ช่วยบรรเทา หรือจักแสดงธรรมกถาแก่ภิกษุณีนั้น” แต่พึงกลับใน 7 วัน
4. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่ภิกษุณี ถ้าภิกษุณี
นั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่ดิฉันแล้ว ขอ
อาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุณี
นั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณีส่งทูตมา
พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักเปลื้องความเห็นผิดเอง หรือจักใช้ภิกษุอื่นให้ช่วยเปลื้อง
หรือจักแสดงธรรมกถาแก่ภิกษุณีนั้น” แต่พึงกลับใน 7 วัน
5. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุณีเป็นผู้ต้องครุธรรม ควรแก่มานัต
ถ้าภิกษุณีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันเองต้องครุธรรม ควรแก่
มานัต ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย
แม้ภิกษุณีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อ
ภิกษุณีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้มานัต” แต่พึง
กลับใน 7 วัน
6. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุณีเป็นผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม
ถ้าภิกษุณีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันเป็นผู้ควรชักเข้าหา
อาบัติเดิม ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย
แม้ภิกษุณีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณี
นั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายชักเข้าหาอาบัติเดิม” แต่พึง
กลับใน 7 วัน
7. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุณีในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ควรอัพภาน
ถ้าภิกษุณีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันเป็นผู้ควรอัพภาน ขอ
อาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุณี
นั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณีนั้นส่ง
ทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “เราจักทำความขวนขวายให้อัพภาน” แต่พึงกลับใน 7 วัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :306 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [3. วัสสูปนายิกขันธกะ] 110. ปัญจอัปปหิตานุชานนา
8. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ สงฆ์ต้องการจะทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม
นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแก่ภิกษุณี
ถ้าภิกษุณีนั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “สงฆ์เป็นผู้ต้องการจะทำกรรม
แก่ดิฉัน ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย
แม้ภิกษุณีนั้นจะไม่ส่งทูตมา ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณี
นั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้งใจว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ สงฆ์จะไม่พึงทำกรรม
หรือพึงเปลี่ยนไปเป็นโทษเบา” แต่พึงกลับใน 7 วัน
9. ก็หรือว่า ภิกษุณีนั้นถูกสงฆ์ทำกรรม คือ ตัชชนียกรรม นิยสกรรม
ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม หรืออุกเขปนียกรรมแล้ว ถ้าภิกษุณีนั้นจะพึง
ส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “สงฆ์ทำกรรมแก่ดิฉันแล้ว ขออาราธนาพระผู้
เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุณีนั้นจะไม่ส่งทูตมา
ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อภิกษุณีนั้นส่งทูตมา พึงไปด้วยตั้ง
ใจว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ ภิกษุณีนั้นจะพึงประพฤติชอบ พึงหายเย่อหยิ่ง
พึงกลับตัวได้ สงฆ์พึงระงับกรรมนั้นเสีย” แต่พึงกลับใน 7 วัน

สัตตาหกรณียะเนื่องด้วยสิกขมานา 6 กรณี
[195] 1. ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ สิกขมานาเป็นไข้ ถ้าสิกขมานานั้น
จะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ดิฉันเป็นไข้ ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้า
ทั้งหลายมา ดิฉันประสงค์ให้มา” ภิกษุทั้งหลาย แม้สิกขมานานั้นจะไม่ส่งทูตมา
ก็ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเมื่อสิกขมานานั้นส่งทูตมา พึงไปด้วย
ตั้งใจว่า “เราจักแสวงหาคิลานภัต คิลานุปัฏฐากภัต หรือคิลานเภสัช จักถามอาการ
หรือจักพยาบาล” แต่พึงกลับใน 7 วัน
2. ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ความไม่ยินดีเกิดขึ้นแก่สิกขมานา...
3. ความรำคาญเกิดขึ้นแก่สิกขมานา...
4. ความเห็นผิดเกิดขึ้นแก่สิกขมานา..
5. สิกขาของสิกขมานากำเริบ ถ้าสิกขมานานั้นจะพึงส่งทูตไปในสำนักภิกษุ
ทั้งหลายว่า “สิกขาของดิฉันกำเริบแล้ว ขออาราธนาพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมา ดิฉัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :307 }