เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [3. วัสสูปนายิกขันธกะ] 109. สัตตาหกรณียานุชานนา
ภิกษุทั้งหลายได้ยินอุบาสกอุเทนตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ รับสั่งกับ
ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคล 7 จำพวกคือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา
สามเณร สามเณรี อุบาสก อุบาสิกา ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วย
สัตตาหกรณียะ1ได้ แต่เมื่อพวกเขาไม่ส่งทูตมา เราไม่อนุญาตให้ไป ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อบุคคล 7 จำพวกเหล่านี้ส่งทูตมา เราอนุญาตให้ไปด้วยสัตตาหกรณียะได้
แต่เมื่อพวกเขาไม่ส่งทูตมา เราไม่อนุญาต (เมื่อไปด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน
7 วัน”2
[188] ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ อุบาสกได้สร้างวิหารถวายอุทิศสงฆ์
ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา
ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และเห็นภิกษุทั้งหลาย” เมื่อเขาส่งทูตมา
พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไปด้วยสัตตาห
กรณียะ) พึงกลับใน 7 วัน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสกได้สร้างเรือนมุงแถบเดียวถวายอุทิศสงฆ์
ฯลฯ

... ได้สร้างปราสาท ... ... ได้สร้างเรือนโล้น ...
... ได้สร้างถ้ำ ... ... ได้สร้างบริเวณ ...
... ได้สร้างซุ้ม ... ... ได้สร้างโรงฉัน ...
... ได้สร้างโรงไฟ ... ... ได้สร้างกัปปิยกุฎี ...
... ได้สร้างวัจกุฎี ... ... ได้สร้างที่จงกรม ...
... ได้สร้างโรงจงกรม ... ... ได้สร้างบ่อน้ำ ...


เชิงอรรถ :
1 สัตตาหกรณียะ แปลว่า ธุระที่จะพึงทำให้เสร็จได้ภายใน 7 วัน หมายถึงธุระเป็นเหตุให้ภิกษุออกจาก
วัดไปค้างแรมที่อื่นได้ในระหว่างพรรษา เป็นเวลา 7 วัน (วิ.อ. 3/187/146)
2 พึงกลับใน 7 วัน คือ ต้องกลับมารับอรุณที่ 7 ในวัดที่ตนเข้าพรรษา จะไปพักแรมครบ 7 วันแล้ว
กลับมารับอรุณที่ 8 ไม่ได้ (วิ.อ. 3/187/146)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :296 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [3. วัสสูปนายิกขันธกะ] 109. สัตตาหกรณียานุชานนา

... ได้สร้างโรงบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างเรือนไฟ ...
... ได้สร้างโรงเรืองไฟ ... ... ได้สร้างสระโบกขรณี ...
... ได้สร้างมณฑป ... ... ได้สร้างอาราม ...
... ได้สร้างอารามวัตถุ1

ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา
ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และเห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป(เมื่อไป
ด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน 7 วัน
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ อุบาสกได้สร้างวิหารถวายอุทิศภิกษุมากรูป
ได้สร้างวิหารอุทิศภิกษุรูปหนึ่ง ...

... ได้สร้างเรืองมุงแถบเดียว ... ... ได้สร้างปราสาท ...
... ได้สร้างเรืองโล้น ... ... ได้สร้างถ้ำ ...
... ได้สร้างบริเวณ ... ... ได้สร้างซุ้ม ...
... ได้สร้างโรงฉัน ... ... ได้สร้างโรงไฟ ...
... ได้สร้างกัปปิยกุฎี ... ... ได้สร้างวัจกุฎี ...
... ได้สร้างที่จงกรม ... ... ได้สร้างโรงจงกรม ...
... ได้สร้างบ่อน้ำ ... ... ได้สร้างโรงบ่อน้ำ ...
... ได้สร้างเรืองไฟ ... ... ได้สร้างโรงเรือนไฟ ...
... ได้สร้างสระโบกขรณี ... ... ได้สร้างมณฑป ...
... ได้สร้างอาราม ... ... ได้สร้างอารามวัตถุ

ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า “ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา
ข้าพเจ้าปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และเห็นภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุทั้งหลาย
เมื่อเขาส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อเขาไม่ส่งทูตมา ไม่พึงไป (เมื่อไป
ด้วยสัตตาหกรณียะ) พึงกลับใน 7 วัน

เชิงอรรถ :
1 อารามวัตถุ หมายถึงพื้นที่ที่มิได้ปลูกพืชหรือไม้กอ แต่ปรับเป็นพื้นที่ไว้ อาจล้อมรั้วไว้หรือมิได้ล้อม
กำหนดไว้เป็นสถานที่สวนดอกไม้เป็นต้น (วิ.อ. 1/105/370)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :297 }