เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [2. อุโปสถขันธกะ] 91. สังฆุโปสถาทิปเภท
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุคัคคะเป็นผู้วิกลจริต ระลึกอุโบสถ
ได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง ระลึกสังฆกรรมได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง มาอุโบสถบ้าง ไม่มา
บ้าง มาสังฆกรรมบ้าง ไม่มาบ้าง ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงให้อุมมัตตก
สมมติแก่ภิกษุคัคคะผู้วิกลจริต คือ ภิกษุคัคคะระลึกอุโบสถได้บ้าง ระลึกไม่ได้
บ้าง ระลึกสังฆกรรมได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง มาอุโบสถบ้าง ไม่มาบ้าง มาสังฆ
กรรมบ้าง ไม่มาบ้าง สงฆ์พร้อมภิกษุคัคคะหรือเว้นภิกษุคัคคะ ทำอุโบสถก็ได้
ทำสังฆกรรมก็ได้ ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการให้อุมมัตตกสมมติแก่ภิกษุคัคคะ
ผู้วิกลจริต ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง
อุมมัตตกสมมติสงฆ์ได้ให้แล้วแก่ภิกษุคัคคะผู้วิกลจริต คือ ภิกษุคัคคะระลึก
อุโบสถได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง ระลึกสังฆกรรมได้บ้าง ระลึกไม่ได้บ้าง มาอุโบสถบ้าง
ไม่มาบ้าง มาสังฆกรรมบ้าง ไม่มาบ้าง สงฆ์พร้อมภิกษุคัคคะหรือเว้นภิกษุคัคคะ
ทำอุโบสถก็ได้ ทำสังฆกรรมก็ได้ สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือ
ความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

91. สังฆุโปสถาทิปเภท
ว่าด้วยประเภทแห่งอุโบสถมีอุโบสถเป็นการสงฆ์เป็นต้น

เรื่องภิกษุ 4 รูป 3 รูป 2 รูป และ 1 รูป
ทำอุโบสถ 3 อย่าง ตามลำดับ

เรื่องภิกษุ 4 รูป ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง
[168] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุอยู่ด้วยกัน 4 รูป
ภิกษุเหล่านั้นได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ‘ภิกษุพึง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :252 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [2. อุโปสถขันธกะ] 91. สังฆุโปสถาทิปเภท
ทำอุโบสถ’ ดังนี้ ก็พวกเรามีเพียง 4 รูป จะพึงทำอุโบสถอย่างไรหนอ” จึงนำ
เรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ 4 รูป ยก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดง”

เรื่องภิกษุ 3 รูป ทำปาริสุทธิอุโบสถ
สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น มีภิกษุอยู่ด้วยกัน 3 รูป
ภิกษุเหล่านั้นได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ภิกษุ
4 รูป ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ก็พวกเรามีเพียง 3 รูป จะพึงทำอุโบสถอย่างไรหนอ”
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ 3 รูป ทำ
ปาริสุทธิอุโบสถ

วิธีทำปาริสุทธิอุโบสถสำหรับภิกษุ 3 รูปและกรรมวาจา
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงทำปาริสุทธิอุโบสถอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้ภิกษุทั้งหลายทราบว่า
ท่านทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า วันนี้เป็นวันอุโบสถ 15 ค่ำ ถ้าท่านทั้งหลายพร้อม
กันแล้ว เราทั้งหลายพึงทำปาริสุทธิอุโบสถแก่กันและกัน
ภิกษุผู้เถระพึงห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ บอก
ภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้ว่า

คำบอกปาริสุทธิสำหรับภิกษุมีพรรษาแก่กว่า
ท่านทั้งหลาย ผมเป็นผู้บริสุทธิ์ ขอท่านทั้งหลายจงจำผมว่า เป็นผู้บริสุทธิ์
ท่านทั้งหลาย ผมเป็นผู้บริสุทธิ์ ขอท่านทั้งหลายจงจำผมว่า เป็นผู้บริสุทธิ์
ท่านทั้งหลาย ผมเป็นผู้บริสุทธิ์ ขอท่านทั้งหลายจงจำผมว่า เป็นผู้บริสุทธิ์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :253 }