เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [2. อุโปสถขันธกะ] 87. ปาริสุทธิทานกถา
เรื่องส่งภิกษุไปพอจะกลับมาทันในวันนั้น
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันอุโบสถนั้น ภิกษุอยู่
ด้วยกันหลายรูป เป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้จักอุโบสถหรือวิธีทำอุโบสถ หรือปาติโมกข์
หรือวิธียกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปยังอาวาสใกล้เคียง
พอจะกลับมาทันในวันนั้น ด้วยสั่งว่า ‘ท่าน ท่านจงไปเรียนปาติโมกข์โดยย่อหรือโดย
พิสดารมาเถิด’ ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุเหล่านั้นทุกรูป
พึงไปสู่อาวาสที่มีภิกษุรู้อุโบสถหรือวิธีทำอุโบสถ หรือปาติโมกข์หรือวิธีขึ้นแสดงปาติโมกข์
ถ้าไม่ไป ต้องอาบัติทุกกฏ

เรื่องจำพรรษาในอาวาสที่มีผู้ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงได้
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ภิกษุอยู่จำพรรษาหลายรูป
เป็นผู้โง่เขลา ไม่ฉลาด ไม่รู้จักอุโบสถหรือวิธีทำอุโบสถ หรือปาติโมกข์หรือวิธียก
ปาติโมกข์ขึ้นแสดง ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปยังอาวาสใกล้เคียง พอจะกลับ
มาทันในวันนั้น ด้วยสั่งว่า “ท่าน ท่านจงไปเรียนปาติโมกข์โดยย่อหรือโดยพิสดาร
มาเถิด” ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ พึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปชั่วเวลา
7 วัน ด้วยสั่งว่า “ท่าน ท่านจงไปเรียนปาติโมกข์โดยย่อหรือโดยพิสดารมาเถิด”
ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุเหล่านั้น ไม่พึงจำพรรษาอยู่ใน
อาวาสนั้น ถ้าจำพรรษาอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ

87. ปาริสุทธิทานกถา
ว่าด้วยการมอบปาริสุทธิ

เรื่องภิกษุไข้มอบปาริสุทธิ
[164] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจงประชุมกัน สงฆ์จักทำอุโบสถ”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :245 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [2. อุโปสถขันธกะ] 87. ปาริสุทธิทานกถา
เมื่อพระองค์ตรัสอย่างนี้ ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า
“มีภิกษุเป็นไข้อยู่ พระพุทธเจ้าข้า ภิกษุไข้นั้นมาไม่ได้”
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุไข้มอบปาริสุทธิ”
ภิกษุทั้งหลาย ก็แล ภิกษุไข้พึงมอบปาริสุทธิอย่างนี้
ภิกษุไข้นั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง
กระโหย่งประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “ข้าพเจ้าขอมอบปาริสุทธิ ท่านจงนำ
ปาริสุทธิของข้าพเจ้าไป จงบอกปาริสุทธิของข้าพเจ้า”
ภิกษุผู้มอบปาริสุทธิให้ภิกษุผู้นำปาริสุทธิรู้ด้วยกาย ให้รู้ด้วยวาจา หรือให้รู้
ด้วยกายและวาจา ปาริสุทธิเป็นอันมอบให้แล้ว ภิกษุผู้มอบปาริสุทธิไม่ให้ภิกษุผู้นำ
ปาริสุทธิรู้ด้วยกาย ไม่ให้รู้ด้วยวาจา หรือไม่ให้รู้ด้วยกายและวาจา ปาริสุทธิ
เป็นอันยังมิได้มอบ ถ้าได้อย่างนั้น นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุทั้งหลายพึงใช้
เตียงหรือตั่งหามภิกษุไข้มาในท่ามกลางสงฆ์แล้วทำอุโบสถ
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกภิกษุผู้พยาบาลภิกษุไข้ได้ปรึกษากัน ดังนี้ว่า ถ้าพวก
เราจักย้ายภิกษุไข้ อาการไข้จักกำเริบหนักขึ้นหรือภิกษุไข้จักถึงแก่มรณภาพ ไม่พึง
ย้ายภิกษุไข้ สงฆ์พึงไปทำอุโบสถในสำนักภิกษุไข้นั้น แต่สงฆ์ไม่พึงแบ่งพวกกันทำ
อุโบสถ ถ้าแบ่งพวกกันทำ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปาริสุทธิหลบไป
เสียจากที่นั้น ภิกษุไข้พึงมอบปาริสุทธิแก่ภิกษุรูปอื่น
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุไข้ได้มอบปาริสุทธิแล้ว ถ้าภิกษุผู้นำปาริสุทธิสึกเสีย
ณ ที่นั้นแหละ ... มรณภาพ ... ปฏิญญาเป็นสามเณร ... ปฏิญญาเป็นผู้บอก
คืนสิกขา ... ปฏิญญาเป็นผู้ต้องอันติมวัตถุ1 ... ปฏิญญาเป็นผู้วิกลจริต ... ปฏิญญา
เป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน ... ปฏิญญาเป็นผู้กระสับกระส่ายเพราะเวทนา ... ปฏิญญาเป็นผู้
ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติ ... ปฏิญญาเป็นผู้ถูกสงฆ์ลง

เชิงอรรถ :
1 อันติมวัตถุ หมายถึงอาบัติปาราชิก

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :246 }