เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [2. อุโปสถขันธกะ] 77. อุโปสถาเภทาทิ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย สีมาที่ภิกษุเหล่าใดสมมติไว้ก่อนแล้ว
กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นเป็นกรรมที่ถูกต้อง ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ สีมาที่ภิกษุ
เหล่าใดสมมติในภายหลัง กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นไม่ถูกต้อง กำเริบได้ ไม่ควร
แก่ฐานะ ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงสมมติสีมาคาบเกี่ยวสีมา ภิกษุสงฆ์หมู่ใดสมมติ
คาบเกี่ยวกัน ต้องอาบัติทุกกฏ”

สมมติสีมาทับสีมา
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สมมติสีมาทับสีมา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย สีมาที่ภิกษุเหล่าใดสมมติไว้ก่อนแล้ว
กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นเป็นกรรมที่ถูกต้อง ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ สีมาที่ภิกษุ
เหล่าใดสมมติในภายหลัง กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นไม่ถูกต้อง กำเริบได้ ไม่ควร
แก่ฐานะ ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงสมมติสีมาทับสีมา ภิกษุสงฆ์หมู่ใดสมมติทับ
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์จะสมมติสีมา เว้นช่องว่าง
ในระหว่างสีมาแล้วจึงสมมติสีมา”

77. อุโปสถเภทาทิ
ว่าด้วยประเภทแห่งวันอุโบสถเป็นต้น

เรื่องประเภทแห่งวันอุโบสถ
[149] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “วันอุโบสถมี
เท่าไร” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย วันอุโบสถนี้มี 2 วัน คือ วัน
14 ค่ำ และวัน 15 ค่ำ ภิกษุทั้งหลาย วันอุโบสถมี 2 วันเหล่านี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :226 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [2. อุโปสถขันธกะ] 77. อุโปสถาเภทาทิ
เรื่องอาการที่ทำอุโบสถ
ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “การทำอุโบสถมีเท่าไรหนอ”
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย การทำอุโบสถนี้มี 4 อย่าง1 คือ
1. การทำอุโบสถแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม
2. การทำอุโบสถพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม
3. การทำอุโบสถแบ่งพวกโดยชอบธรรม
4. การทำอุโบสถพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ในการทำอุโบสถ 4 อย่างนั้น การทำอุโบสถใดแบ่งพวกโดย
ไม่ชอบธรรม การทำอุโบสถเช่นนั้น ไม่พึงทำและเราไม่อนุญาตการทำอุโบสถเช่นนั้น
การทำอุโบสถใดพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม การทำอุโบสถเช่นนั้น ไม่พึง
ทำและเราไม่อนุญาตการทำอุโบสถเช่นนั้น
การทำอุโบสถใดแบ่งพวกโดยชอบธรรม การทำอุโบสถเช่นนั้น ไม่พึงทำและเรา
ไม่อนุญาตการทำอุโบสถเช่นนั้น
การทำอุโบสถใดพร้อมเพรียงกัน โดยชอบธรรม การทำอุโบสถเช่นนั้น พึงทำ
และเราอนุญาตการทำอุโบสถเช่นนั้น

เชิงอรรถ :
1 เช่น ถ้าในวัดหนึ่ง มีภิกษุ 4 รูป ภิกษุ 3 รูปนำฉันทะและปาริสุทธิของภิกษุรูปหนึ่งมาทำปาริสุทธิอุโบสถ
หรือมีภิกษุอยู่ 3 รูป ภิกษุ 2 รูปนำฉันทะและปาริสุทธิของภิกษุรูปหนึ่งมายกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นี้ชื่อ
ว่า การทำอุโบสถแบ่งพวกโดยไม่ชอบธรรม
ภิกษุ 4 รูป ประชุมกันทำปาริสุทธิอุโบสถ ภิกษุ 3 หรือ 2 รูป ยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง นี้ชื่อว่า
การทำอุโบสถพร้อมเพรียงกันโดยไม่ชอบธรรม
มีภิกษุ 4 รูป ภิกษุ 3 รูปนำปาริสุทธิของภิกษุรูปหนึ่งมายกปาติโมกข์ขึ้นแสดง หรือมีภิกษุ
3 รูป ภิกษุ 2 รูปนำปาริสุทธิของภิกษุรูปหนึ่งมา ทำปาริสุทธิอุโบสถ นี้ชื่อว่า การทำอุโบสถแบ่ง
พวกโดยชอบธรรม
ภิกษุ 4 รูป อยู่ในวัดหนึ่ง ทั้งหมดประชุมกันยกปาติโมกข์ขึ้นแสดง ภิกษุ 3 รูปทำปาริสุทธิอุโบสถ
ภิกษุ 2 รูปทำปาริสุทธิอุโบสถต่อกันและกัน นี้ชื่อว่า การทำอุโบสถพร้อมเพรียงกันโดยชอบธรรม
(วิ.อ. 3/149/130-131)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :227 }