เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [2. อุโปสถขันธกะ] 76. คามสีมาทิ
สมานสังวาสสีมามีอุโบสถเดียวกันนั้น สงฆ์ถอนแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

76. คามสีมาทิ
ว่าด้วยคามสีมาเป็นต้น

อพัทธสีมา
[147] พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อสีมาที่สงฆ์ยังไม่ได้
สมมติ ยังไม่ได้กำหนดสีมา ภิกษุสงฆ์อยู่อาศัยหมู่บ้านหรือนิคมใด เขตของหมู่บ้าน
นั้นเป็นคามสีมาบ้าง เขตของนิคมนั้นเป็นนิคมสีมาบ้าง สีมานี้ในหมู่บ้านหรือนิคม
ทั้งสองนั้นเป็นสมานสังวาส มีอุโบสถเดียวกัน
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าในป่าไม่มีหมู่บ้านชั่ว 7 อัพภันดรโดยรอบ สีมานี้ในป่านั้น
เป็นสมานสังวาส มีอุโบสถเดียวกัน

เรื่องอุทกุกเขปสีมาในแม่น้ำเป็นต้น
ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำทั้งหมดไม่จัดเป็นสีมา สมุทรทั้งหมดไม่จัดเป็นสีมา
ชาตสระ1ทั้งหมดไม่จัดเป็นสีมา
ภิกษุทั้งหลาย ในแม่น้ำ ในสมุทร หรือในชาตสระ ชั่วระยะชายมีสัณฐาน
ปานกลาง วักน้ำสาดไปโดยรอบเป็นอุทกุกเขปสีมา สีมานี้ในน่านน้ำเหล่านั้น เป็น
สมานสังวาส มีอุโบสถเดียวกัน

เรื่องสีมาคาบเกี่ยว
[148] สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สมมติสีมาคาบเกี่ยวสีมา ภิกษุทั้งหลาย
จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
1 ชาตสระ หมายถึงสระที่เกิดเอง ไม่มีใครขุดไว้ น้ำไหลมาจากรอบข้างขังอยู่จนเต็ม (วิ.อ. 3/147/125)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :225 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [2. อุโปสถขันธกะ] 77. อุโปสถาเภทาทิ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย สีมาที่ภิกษุเหล่าใดสมมติไว้ก่อนแล้ว
กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นเป็นกรรมที่ถูกต้อง ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ สีมาที่ภิกษุ
เหล่าใดสมมติในภายหลัง กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นไม่ถูกต้อง กำเริบได้ ไม่ควร
แก่ฐานะ ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงสมมติสีมาคาบเกี่ยวสีมา ภิกษุสงฆ์หมู่ใดสมมติ
คาบเกี่ยวกัน ต้องอาบัติทุกกฏ”

สมมติสีมาทับสีมา
สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์สมมติสีมาทับสีมา ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย สีมาที่ภิกษุเหล่าใดสมมติไว้ก่อนแล้ว
กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นเป็นกรรมที่ถูกต้อง ไม่กำเริบ ควรแก่ฐานะ สีมาที่ภิกษุ
เหล่าใดสมมติในภายหลัง กรรมนั้นของภิกษุเหล่านั้นไม่ถูกต้อง กำเริบได้ ไม่ควร
แก่ฐานะ ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงสมมติสีมาทับสีมา ภิกษุสงฆ์หมู่ใดสมมติทับ
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์จะสมมติสีมา เว้นช่องว่าง
ในระหว่างสีมาแล้วจึงสมมติสีมา”

77. อุโปสถเภทาทิ
ว่าด้วยประเภทแห่งวันอุโบสถเป็นต้น

เรื่องประเภทแห่งวันอุโบสถ
[149] ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้มีการสนทนากันดังนี้ว่า “วันอุโบสถมี
เท่าไร” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย วันอุโบสถนี้มี 2 วัน คือ วัน
14 ค่ำ และวัน 15 ค่ำ ภิกษุทั้งหลาย วันอุโบสถมี 2 วันเหล่านี้แล”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :226 }