เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [2. อุโปสถขันธกะ] 72. อุโปสถาคารกถา
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงสมมตินทีปารสีมา รูปใด
สมมติ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้สมมตินทีปารสีมาที่มีเรือจอด
ประจำหรือมีสะพานถาวร”

72. อุโปสถาคารกถา
ว่าด้วยโรงอุโบสถ

เรื่องยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงตามบริเวณวิหาร
[141] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงตามบริเวณวิหารโดยไม่
กำหนดที่ พระอาคันตุกะทั้งหลายไม่รู้ว่า “วันนี้สงฆ์จะทำอุโบสถ ณ ที่ไหน”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ไม่พึงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงตาม
บริเวณวิหารโดยไม่กำหนดที่ รูปใดยกขึ้นแสดง ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้สมมติวิหาร เรือนมุงแถบเดียว ปราสาท เรือนโล้น หรือถ้ำ ที่สงฆ์
ต้องการให้เป็นโรงอุโบสถแล้วจึงทำอุโบสถ”
ภิกษุทั้งหลาย ก็แลพึงสมมติโรงอุโบสถอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า

วิธีสมมติโรงอุโบสถและกรรมวาจาสมมติโรงอุโบสถ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้
ให้เป็นโรงอุโบสถ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์สมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นโรงอุโบสถ
ท่านรูปใดเห็นด้วยกับการสมมติวิหารมีชื่อนี้ให้เป็นโรงอุโบสถ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง
ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้นพึงทักท้วง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :217 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [2. อุโปสถขันธกะ] 72. อุโปสถาคารกถา
วิหารมีชื่อนี้สงฆ์สมมติให้เป็นโรงอุโบสถแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง
ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

เรื่องสมมติโรงอุโบสถ 2 แห่งในอาวาสเดียวกัน
สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง สงฆ์สมมติโรงอุโบสถ 2 แห่ง ภิกษุทั้งหลาย
ประชุมกันในโรงอุโบสถทั้ง 2 แห่งด้วยตั้งใจว่า “สงฆ์จักทำอุโบสถ ณ ที่นี้ สงฆ์จัก
ทำอุโบสถ ณ ที่นี้”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ในอาวาสแห่งหนึ่ง สงฆ์ไม่พึงสมมติ
โรงอุโบสถ 2 แห่ง ภิกษุสงฆ์หมู่ใดสมมติ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย
เราอนุญาตให้ถอนโรงอุโบสถแห่งหนึ่งแล้ว จึงทำอุโบสถในโรงอุโบสถอีกแห่งหนึ่ง”

วิธีถอนโรงอุโบสถและกรรมวาจาถอนโรงอุโบสถ
ภิกษุทั้งหลาย พึงถอนโรงอุโบสถอย่างนี้
ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว สงฆ์พึงถอนโรง
อุโบสถมีชื่อนี้ นี่เป็นญัตติ
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ถอนโรงอุโบสถมีชื่อนี้ ท่านรูปใดเห็นด้วย
กับการถอนโรงอุโบสถมีชื่อนี้ ท่านรูปนั้นพึงนิ่ง ท่านรูปใดไม่เห็นด้วย ท่านรูปนั้น
พึงทักท้วง
โรงอุโบสถมีชื่อนี้สงฆ์ถอนแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือ
ความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :218 }