เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 66. อาปัตติอทัสสนอุกขิตตวัตถุ
นั้นหรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมเห็น ขอรับ’ พึงให้บรรพชา ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผม
ไม่เห็น ขอรับ’ ไม่พึงให้บรรพชา ครั้นให้บรรพชาแล้วพึงถามว่า ‘เจ้าเห็นอาบัตินั้น
หรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมเห็น ขอรับ’ พึงให้อุปสมบท ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมไม่
เห็นขอรับ’ ไม่พึงให้อุปสมบท ครั้นให้อุปสมบทแล้วพึงถามว่า ‘ท่านเห็นอาบัตินั้น
หรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมเห็น ขอรับ’ พึงเรียกเข้าหมู่ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมไม่
เห็นขอรับ’ ไม่พึงเรียกเข้าหมู่ ครั้นเรียกเข้าหมู่แล้วพึงถามว่า ‘ท่านเห็นอาบัตินั้นหรือ’
ถ้าเขาเห็นเอง นั่นเป็นการดี ถ้าไม่เห็น เมื่อได้สามัคคี พึงลงอุกเขปนียกรรมอีก
เมื่อไม่ได้สามัคคี ไม่ต้องอาบัติเพราะกินร่วมและอยู่ร่วม

เรื่องภิกษุถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืน
อาบัติ ได้สึกไป เขากลับมาขออุปสมบทกับภิกษุทั้งหลายอีก พึงถามเขาว่า
‘เจ้าจักทำคืนอาบัตินั้นหรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจักทำคืน ขอรับ’ พึงให้บรรพชา
ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจักไม่ทำคืน ขอรับ’ ไม่พึงให้บรรพชา ครั้นให้บรรพชาแล้ว
พึงถามว่า ‘เจ้าจักทำคืนอาบัตินั้นหรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจักทำคืน ขอรับ’
พึงให้อุปสมบท ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจะไม่กระทำคืน’ ไม่พึงให้อุปสมบท ครั้นให้
อุปสมบทแล้วพึงถามว่า ‘ท่านจักทำคืนอาบัตินั้นหรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผม
จักทำคืน ขอรับ’ พึงเรียกเข้าหมู่ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจะไม่กระทำคืน’ ไม่พึง
เรียกเข้าหมู่ ครั้นเรียกเข้าหมู่แล้วพึงกล่าวว่า ‘จงทำคืนอาบัตินั้นเสีย’ ถ้าเขา
ทำคืน นั่นเป็นการดี ถ้าไม่ทำคืน เมื่อได้สามัคคี พึงลงอุกเขปนียกรรมอีก
เมื่อไม่ได้สามัคคี ไม่ต้องอาบัติเพราะกินร่วมและอยู่ร่วม

เรื่องภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาป
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่สละ
ทิฏฐิบาปสึกไป เขากลับมาขออุปสมบทกับภิกษุทั้งหลายอีก พึงถามเขาว่า ‘เจ้าจัก
สละทิฏฐิบาปนั้นหรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจักสละ ขอรับ’ พึงให้บรรพชา ถ้าเขา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :200 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 67. รวมเรื่องที่มีในมหาขันธกะ
ตอบว่า ‘กระผมจักไม่สละ ขอรับ’ ไม่พึงให้บรรพชา ครั้นให้บรรพชาแล้วพึงถามว่า
‘เจ้าจักสละทิฏฐิบาปนั้นหรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจักสละ ขอรับ’ พึงให้
อุปสมบท ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจักไม่สละ’ ไม่พึงให้อุปสมบท ครั้นให้อุปสมบท
แล้วพึงถามว่า ‘ท่านจักสละทิฏฐิบาปนั้นหรือ’ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจักสละ
ขอรับ’ พึงเรียกเข้าหมู่ ถ้าเขาตอบว่า ‘กระผมจักไม่สละ’ ไม่พึงเรียกเข้าหมู่
ครั้นเรียกเข้าหมู่แล้วพึงกล่าวว่า ‘จงสละทิฏฐิบาปนั้นเสีย’ ถ้าเขาสละ นั่นเป็นการดี
ถ้าไม่สละ เมื่อได้สามัคคี พึงลงอุกเขปนียกรรมอีก เมื่อไม่ได้สามัคคี ไม่ต้อง
อาบัติเพราะกินร่วมและอยู่ร่วม”
เรื่องภิกษุถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นอาบัติ จบ
มหาขันธกะที่ 1 จบ

67. รวมเรื่องที่มีในมหาขันธกะ
[131] เพราะภิกษุผู้ฉลาดในพระวินัย อันมีประโยชน์มาก
อันนำความสุขมาให้ภิกษุผู้มีศีลดีงาม ในการข่มภิกษุ
ผู้ปรารถนาต่ำทราม ในการยกย่องภิกษุผู้มีความละอาย
ในมหาวรรคขันธกะและจูฬวรรคขันธกะ ในภิกขุวิภังค์
และภิกขุนีวิภังค์ในคัมภีร์บริวาร ในภิกขุปาติโมกข์
และภิกขุนีปาติโมกข์ อันทรงไว้ซึ่งพระศาสนา
อันเป็นพุทธวิสัยแห่งพระสัพพัญญู
มิใช่วิสัยของบุคคลทั่วไป อันเกษม
ที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว และปราศจากข้อสงสัย
ย่อมปฏิบัติโดยแยบคาย นับว่าเป็นผู้กระทำประโยชน์
ผู้ใดไม่รู้จักโค ผู้นั้นย่อมรักษาฝูงโคไว้ไม่ได้ ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้น เมื่อไม่รู้จักศีล ไฉนจะพึงรักษาสังวรได้เล่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :201 }