เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 48. เถยยสังวาสวัตถุ
เหล่านี้ แม้ที่มิใช่บัณเฑาะก์ก็ชำเราบัณเฑาะก์เหล่านี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณะเหล่านี้
จึงล้วนแต่มิใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์”
ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเลี้ยงช้าง คนเลี้ยงม้าเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา
จึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันผู้เป็นบัณเฑาะก์ ไม่พึง
ให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว พึงให้สึกเสีย” (1)

48. เถยยสังวาสวัตถุ
ว่าด้วยคนลักเพศ1และคนเข้ารีตเดียรถีย์บรรพชา

ห้ามคนลักเพศและคนเข้ารีตอุปสมบท
[110] สมัยนั้น บุตรของตระกูลเก่าแก่คนหนึ่ง เป็นคนบอบบาง มีหมู่ญาติใน
ตระกูลสิ้นไป เขามีความคิดว่า “เราเป็นคนบอบบาง ไม่สามารถจะหาโภคทรัพย์
ที่ยังไม่มี หรือจะทำโภคทรัพย์ที่มีอยู่ให้เพิ่มพูนขึ้นได้ ด้วยวิธีใดหนอ เราจะอยู่สุขสบาย
และไม่ลำบาก” คิดได้ว่า “พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ มีลักษณะนิสัยดี
ประพฤติเรียบร้อย บริโภคอาหารดี ๆ นอนในห้องอันมิดชิด ถ้ากระไรเราพึงเตรียม

เชิงอรรถ :
1 คนลักเพศ แปลมาจากคำว่า “เถยยสังวาสกะ” คนลักเพศมี 3 จำพวก คือ (1) คนลักเพศ
(2) คนลักสังวาส (3) คนลักทั้งเพศและสังวาส
คนที่บวชเองแล้วไปวัด ไม่คำนึงพรรษาของภิกษุ ไม่ยินดีการไหว้ตามลำดับพรรษา ไม่ห้ามอาสนะ
ไม่เข้าร่วมในอุโบสถและปวารณาเป็นต้น นี้ชื่อว่าคนลักเพศ
คนที่ภิกษุทั้งหลายบวชให้ ขณะยังเป็นสามเณร ไปต่างถิ่น พูดเท็จว่า “ผมบวชมาแล้ว 10 พรรษา
หรือ 20 พรรษา” คำนึงพรรษาของภิกษุ ยินดีการไหว้ตามลำดับพรรษา ห้ามอาสนะ เข้าร่วมในอุโบสถ
และปวารณาเป็นต้น เพราะเหตุเพียงลักสังวาสเท่านั้น นี้ชื่อว่า คนลักสังวาส ก็กิริยาทุกประเภทมีการนับ
พรรษาของภิกษุเป็นต้นพึงทราบว่า “สังวาส”
คนที่บวชเองแล้วไปวัด คำนึงถึงการนับพรรษาของภิกษุ ยินดีการไหว้ตามลำดับพรรษา ห้ามอาสนะ
เข้าร่วมในอุโบสถและปวารณาเป็นต้น เพราะลักเพศและสังวาส นี้ชื่อว่า คนลักทั้งเพศและสังวาส (วิ.อ.
3/110/82-83)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :174 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 49. ติรัจฉานคตวัตถุ
บาตรและจีวร ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะเสียเอง แล้วไปยังอารามอยู่ร่วม
กับภิกษุทั้งหลาย”
ต่อมา เขาได้เตรียมบาตรและจีวร ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะเอง
ไปยังอารามไหว้ภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุทั้งหลายถามว่า “ท่านมีพรรษาได้เท่าไรล่ะ”
เขาย้อนถามว่า “ที่ชื่อว่ามีพรรษาเท่าไร นั่นคืออะไร ขอรับ”
“ท่าน ก็ใครเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านล่ะ”
“ที่ชื่อว่าพระอุปัชฌาย์ นั่นคือใคร ขอรับ”
ภิกษุทั้งหลายได้บอกเรื่องนี้แก่ท่านพระอุบาลีว่า “ท่านอุบาลี ขอนิมนต์ท่าน
สอบสวนบรรพชิตรูปนี้ดูเถิด”
ครั้นเขาถูกท่านพระอุบาลีสอบสวนจึงยอมบอกเรื่องนั้น ท่านพระอุบาลีได้บอก
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนี้ให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันผู้เป็นคนลักเพศ ไม่พึง
ให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้ว พึงให้สึกเสีย
ภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบันผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ ไม่พึงให้อุปสมบท1 ที่
อุปสมบทแล้ว พึงให้สึกเสีย” (2-3)

49. ติรัจฉานคตวัตถุ
ว่าด้วยสัตว์ดิรัจฉานบรรพชา

นาคแปลงกายเป็นมนุษย์มาขอบรรพชา
[111] สมัยนั้น นาคตัวหนึ่งอึดอัด ระอา รังเกียจกำเนิดนาค ต่อมา
นาคนั้นมีความดำริว่า “ด้วยอุบายอย่างไรหนอ เราจะพึงพ้นจากกำเนิดนาค

เชิงอรรถ :
1 อนุปสัมบันที่ไปเข้ารีตเดียรถีย์นั้น ไม่เพียงแต่ไม่พึงให้อุปสมบทเท่านั้น ยังเป็นผู้ที่ไม่พึงบรรพชาให้อีกด้วย
(วิ.อ. 3/110/88)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :175 }