เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 40. นิสสยมุจจนกกถา
5. เป็นผู้มีปัญญาทราม 6. มีพรรษาหย่อน 5
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ (5)

องค์ 6 แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ
1. เป็นผู้ไม่มีสีลวิบัติในอธิสีล
2. เป็นผู้ไม่มีอาจารวิบัติในอัชฌาจาร
3. เป็นผู้ไม่มีทิฏฐิวิบัติในอติทิฏฐิ
4. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก
5. เป็นผู้มีปัญญา
6. มีพรรษาครบ 5 หรือมีพรรษาเกิน 5
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัย (6)

องค์ 6 แห่งภิกษุผู้ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 แม้อื่นอีก จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ คือ
1. ไม่รู้จักอาบัติ
2. ไม่รู้จักอนาบัติ
3. ไม่รู้จักอาบัติเบา
4. ไม่รู้จักอาบัติหนัก
5. จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารไม่ได้ดี จำแนกไม่ได้ดี ไม่คล่อง
แคล่วดี วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะไม่ได้ดี
6. มีพรรษาหย่อน 5
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 เหล่านี้แล จะพึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัยไม่ได้ (7)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :163 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 41. ราหุลวัตถุ
องค์ 6 แห่งภิกษุผู้ไม่ต้องถือนิสสัย
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 พึงอยู่โดยไม่ต้องถือนิสสัย คือ
1. รู้จักอาบัติ
2. รู้จักอนาบัติ
3. รู้จักอาบัติเบา
4. รู้จักอาบัติหนัก
5. จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะได้ดี
6. มีพรรษาครบ 5 หรือมีพรรษาเกิน 5
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 6 เหล่านี้แล พึงอยู่โดยไม่ต้องถือ
นิสสัย (8)
นิสสัยมุจจนกกถา จบ
อภยูวรภาณวารที่ 8 จบ

41. ราหุลวัตถุ
ว่าด้วยพระราหุลกุมารบรรพชา

พระราหุลกุมารทรงผนวชเป็นสามเณร
[105] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ตามพระอัธยาศัย
แล้วได้เสด็จจาริกไปทางกรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จจาริกไปโดยลำดับจนถึงกรุงกบิลพัสดุ์
ทราบว่าพระองค์ประทับอยู่ ณ นิโครธาราม กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้น
เวลาเช้า ทรงอันตรวาสกแล้วถือบาตรและจีวรเสด็จไปยังพระนิเวศน์พระเจ้าสุทโธทน
ศากยะ ประทับนั่ง ณ พุทธอาสน์ที่ได้ปูลาดไว้
ขณะนั้น พระเทวีมารดาพระราหุลกุมารได้ทรงมีพระเสาวนีย์ว่า “แน่ะราหุล
สมณะนั้นเป็นบิดาของเจ้า เจ้าจงไปทูลขอทรัพย์มรดกเถิด”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :164 }