เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 23. อุปสัมปาเทตัพพปัญจกะ
กัณหปักษ์ 6
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
1. ไม่สามารถฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในอภิสมาจาริกาสิกขา1
2. ไม่สามารถแนะนำในอาทิพรหมจริยกาสิกขา2
3. ไม่สามารถแนะนำในอภิธรรม3
4. ไม่สามารถแนะนำในอภิวินัย4
5. ไม่สามารถเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นได้โดยธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (11)

สุกกปักษ์ 6
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก คือ
1. สามารถฝึกปรืออันเตวาสิกหรือสัทธิวิหาริกในอภิสมาจาริกาสิกขา
2. สามารถแนะนำในอาทิพรหมจริกาสิกขา
3. สามารถแนะนำในอภิธรรม
4. สามารถแนะนำในอภิวินัย
5. สามารถเปลื้องความเห็นผิดอันเกิดขึ้นได้โดยธรรม
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้
นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (12)

เชิงอรรถ :
1 อภิมาจาริกาสิกขา คือ หลักการศึกษาเกี่ยวกับข้อวัตรปฏิบัติ ที่แสดงไว้ในหมวดขันธกวัตร (วิ.อ.
3/84/49
2 อาทิพรหมจริยกาสิกขา คือ หลักการศึกษาเกี่ยวกับบัญญัติเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ หมายถึง
สิกขาบทที่มาในภิกขุปาติโมกข์และภิกขุนีปาติโมกข์ เป็นเสกขบัญญัติที่สงฆ์ต้องยกขึ้นแสดงทุกครึ่งเดือน
(วิ.อ. 3/84/49, สารตฺถ.ฏีกา 3/84/292)
3 อภิธรรม คือ หลักการที่ว่าด้วยการกำหนดนามรูป (วิ.อ. 3/84/49)
4 อภิวินัย คือ หลักการในพระวินัยปิฎกทั้งสิ้น (วิ.อ. 3/48/49)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :128 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 23. อุปสัมปาเทตัพพปัญจกะ
กัณหปักษ์ 7
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
1. ไม่รู้จักอาบัติ 2. ไม่รู้จักอนาบัติ
3. ไม่รู้จักอาบัติเบา 4. ไม่รู้จักอาบัติหนัก
5. จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารไม่ได้ดี จำแนกไม่ได้ดี ไม่คล่องแคล่วดี
วินิจฉัยโดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะไม่ได้ดี
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 เหล่านี้แล ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (13)

สุกกปักษ์ 7
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 พึงให้อุปสมบท พึงให้นิสสัย พึงใช้
สามเณรอุปัฏฐาก คือ
1. รู้จักอาบัติ 2. รู้จักอนาบัติ
3. รู้จักอาบัติเบา 4. รู้จักอาบัติหนัก
5. จำปาติโมกข์ทั้งสองโดยพิสดารได้ดี จำแนกได้ดี คล่องแคล่วดี วินิจฉัย
โดยสุตตะโดยอนุพยัญชนะได้ดี
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 เหล่านี้แล พึงให้อุปสมบท พึงให้
นิสสัย พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก (14)

กัณหปักษ์ 8
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ 5 แม้อื่นอีก ไม่พึงให้อุปสมบท
ไม่พึงให้นิสสัย ไม่พึงใช้สามเณรอุปัฏฐาก คือ
1. ไม่รู้จักอาบัติ 2. ไม่รู้จักอนาบัติ
3. ไม่รู้จักอาบัติเบา 4. ไม่รู้จักอาบัติหนัก
5. มีพรรษาหย่อน 10

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :129 }