เมนู

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 17. ปณามิตกถา
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุจึงได้บวชในพระธรรมวินัยอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีอย่างนี้ เพราะเหตุแห่ง
ปากท้องเล่า” แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลให้พระผู้มีพระภาคทรงทราบ

ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า “ภิกษุ ทราบว่าเธอบวชเพราะเหตุ
แห่งปากท้อง จริงหรือ”
ภิกษุนั้นทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โฆบุรุษ ไฉนเธอจึงได้บวชใน
ธรรมวินัยที่เรากล่าวไว้ดีอย่างนี้ เพราะเหตุแห่งปากท้องเล่า โมฆบุรุษ การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นทรงตำหนิแล้ว ทรงแสดงธรรมีกถารับสั่งกับภิกษุทั้งหลาย
ว่า “ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้ให้อุปสมบทบอกนิสสัย 4 คือ

นิสสัย 4
1. บรรพชาอาศัยโภชนะคือคำข้าวที่พึงได้ด้วยปลีแข้งเธอพึงทำอุตสาหะ
ในโภชนะคือคำข้าวที่พึงได้ด้วยปลีแข้งนั้นจนตลอดชีวิต อติเรกลาภ คือ สังฆภัต
อุทเทสภัต นิมันตนภัต สลากภัต ปักขิกภัต อุโปสถิกภัต ปาฏิปทิกภัต1
2. บรรพชาอาศัยผ้าบังสุกุล เธอพึงทำอุตสาหะในผ้าบังสุกุลนั้นจน
ตลอดชีวิต อติเรกลาภ คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน
ผ้าเจือกัน

เชิงอรรถ :
1 สังฆภัต คือ ภัตตาหารถวายสงฆ์ทั้งหมด
อุทเทสภัต คือ ภัตตาหารถวายภิกษุ 2 - 3 รูป
นิมันตนภัต คือ ภัตตาหารที่นิมนต์แล้วถวาย
สลากภัต คือ ภัตตาหารที่นิมนต์ให้จับสลากแล้วถวาย(ตามสลาก)
ปักขิกภัต คือ ภัตตาหารถวายปักษ์(15 วัน)ละ 1 ครั้ง
อุโปสถิกภัต คือ ภัตตาหารถวายในวันอุโบสถ
ปาฏิปทิกภัต คือ ภัตตาหารถวายในวันแรม 1 ค่ำ (สารตฺถ.ฏีกา 3/71-73/285)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :101 }


พระวินัยปิฎก มหาวรรค [1.มหาขันธกะ] 18. อาจริยวัตตกถา
3. บรรพชาอาศัยเสนาสนะคือควงไม้ เธอพึงทำอุตสาหะในเสนาสนะ
คือ ควงไม้นั้นจนตลอดชีวิต อติเรกลาภ คือ วิหาร เรือนมุงแถบเดียว ปราสาท
เรือนโล้น ถ้ำ
4. บรรพชาอาศัยยาคือน้ำมูตรเน่า เธอพึงทำอุตสาหะในยาคือน้ำมูตร
เน่านั้นจนตลอดชีวิต อติเรกลาภ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย
อุปัชฌายวัตตภาณวารที่ 5 จบ
ปณามิตกถา จบ

18. อาจริยวัตตกถา1
ว่าด้วยอาจริยวัตร

เรื่องการบอกนิสสัยแก่มาณพก่อนบวช
[74] สมัยนั้น มาณพคนหนึ่งเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายขอบรรพชา ภิกษุ
ทั้งหลายได้บอกนิสสัยแก่เขาก่อนบวช เขากล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านขอรับ ถ้า
บวชแล้ว ท่านทั้งหลายจะพึงบอกนิสสัยแก่กระผม กระผมก็จะยินดียิ่ง บัดนี้
กระผมจักไม่บวช ขอรับ เพราะว่านิสสัยเป็นสิ่งที่น่าชังน่าเกลียดสำหรับกระผม”
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลายไม่พึงบอกนิสสัยก่อนบวช รูปใดบอก
ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บอกนิสสัยพออุปสมบทเสร็จ”

เรื่องให้อุปสมบทด้วยคณะ
สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายให้อุปสมบทด้วยคณะมีพวก 2 บ้าง มีพวก 3 บ้าง
ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

เชิงอรรถ :
1 วิ.จู. 7/379-380/184-189

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 4 หน้า :102 }