เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [3. นิสสัคคิยกัณฑ์] 1. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 4 บทภาชนีย์
วิธีสละของที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ของนี้ดิฉัน
ออกปากขอของอย่างหนึ่งแล้วจึงออกปากขอมา เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉันขอสละของนี้
แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนของที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
“แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ของนี้ของภิกษุณีชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์
ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนของนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ
เท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย
ฯลฯ ดิฉันขอสละของนี้แก่แม่เจ้าทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
“ฯลฯ พึงคืนของนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”

สละแก่บุคคล
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ฯลฯ ดิฉันขอสละของนี้แก่แม่เจ้า”
ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ฯลฯ “ดิฉันคืนของนี้ให้แก่แม่เจ้า”

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[751] ของอย่างอื่น ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นของอย่างอื่น ออกปากขอของ
อย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :92 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [3. นิสสัคคิยกัณฑ์] 1. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 4 อนาปัตติวาร
ของอย่างอื่น ภิกษุณีไม่แน่ใจ ออกปากขอของอย่างอื่น ต้องอาบัตินิสสัคคิย
ปาจิตตีย์
ของอย่างอื่น ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของอย่างอื่น ออกปากขอของอย่างอื่น
ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่ของอย่างอื่น ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นของอย่างอื่น ออกปากขอของที่ไม่ใช่
ของอย่างอื่น(นั้น) ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ของอย่างอื่น ภิกษุณีไม่แน่ใจ ออกปากขอของที่ไม่ใช่ของอย่างอื่น(นั้น)
ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ของอย่างอื่น ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของอย่างอื่น ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[752] 1. ภิกษุณีผู้ออกปากขอของนั้นเพิ่มและออกปากขอของคู่อย่างอื่น1
2. ภิกษุณีแสดงอานิสงส์แล้วจึงค่อยออกปากขอ
3. ภิกษุณีวิกลจริต
4. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ 4 จบ

เชิงอรรถ :
1 คือของที่ขอครั้งแรกนั้นไม่พอจึงขออีกและขอของที่พึงปรุงด้วยกัน เช่น ขอเนยใสก่อนแล้วขอน้ำมันอีก
เพื่อใช้ปรุงด้วยกัน (วิ.อ. 2/752/483-484)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :93 }