เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [3. นิสสัคคิยกัณฑ์] 1. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 3 สิกขาบทวิภังค์
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้
เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[744] ก็ภิกษุณีใดแลกเปลี่ยนจีวรกับภิกษุณี ภายหลังภิกษุณีนั้นกล่าว
อย่างนี้ว่า “แม่เจ้า จีวรของเธอ จงนำจีวรของดิฉันมา จีวรของเธอต้องเป็น
ของเธอ จีวรของดิฉันต้องเป็นของดิฉัน จงนำจีวรของดิฉันมา จงรับเอาจีวร
ของเธอคืนไปเถิด” ชิงเอาคืนหรือใช้ให้ชิงเอาคืน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[745] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า กับภิกษุณี คือ กับภิกษุณีรูปอื่น
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร 6 ชนิด1 อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมีขนาดพอที่จะทำ
วิกัปได้เป็นอย่างต่ำ
คำว่า แลกเปลี่ยน คือ แลกเปลี่ยนจีวรเนื้อดีกับจีวรเนื้อไม่ดี หรือจีวรเนื้อ
ดีกับจีวรเนื้อไม่ดี
คำว่า ชิงเอาคืน คือ ชิงเอาคืนเอง ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
1 จีวร 6 ชนิด คือ โขมะ(จีวรผ้าเปลือกไม้) กัปปาสิกะ(จีวรผ้าฝ้าย) โกเสยยะ(จีวรผ้าไหม) กัมพละ(จีวร
ผ้าขนสัตว์) สาณะ(จีวรผ้าป่าน) ภังคะ(จีวรผ้าผสม) (วิ.อ. 2/462-463/142)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :87 }