เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [3. นิสสัคคิยกัณฑ์] 1. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 1 สิกขาบทวิภังค์
การสะสมบาตรเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[734] ก็ภิกษุณีใดทำการสะสมบาตร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์1
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[735] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า บาตร ได้แก่ บาตร 2 ชนิด คือ (1) บาตรเหล็ก (2) บาตรดินเผา
บาตรมี 3 ขนาด คือ (1) บาตรขนาดใหญ่ (2) บาตรขนาดกลาง (3) บาตร
ขนาดเล็ก
ที่ชื่อว่า บาตรขนาดใหญ่ จุข้าวสุกจากข้าวสาร 2 ทะนาน จุของเคี้ยวเศษ
หนึ่งส่วนสี่2 จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น
ที่ชื่อว่า บาตรขนาดกลาง จุข้าวสุกจากข้าวสาร 1 ทะนาน จุของเคี้ยว
เศษหนึ่งส่วนสี่ จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น
ที่ชื่อว่า บาตรขนาดเล็ก จุข้าวสุกจากข้าวสาร ครึ่งทะนาน จุของเคี้ยวเศษ
หนึ่งส่วนสี่ จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น

เชิงอรรถ :
1 บาตรเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของที่ต้องสละให้ผู้อื่น ภิกษุณีผู้สะสมบาตร ต้องอาบัติปาจิตตีย์
2 คือเศษหนึ่งส่วนสี่ของข้าวสุก (วิ.อ. 2/602/215)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :78 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [3. นิสสัคคิยกัณฑ์] 1. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 1 สิกขาบทวิภังค์
บาตรที่มีขนาดใหญ่กว่านั้นเป็นบาตรที่ใช้ไม่ได้ บาตรมีขนาดเล็กกว่านั้นก็เป็น
บาตรที่ใช้ไม่ได้
คำว่า ทำการสะสม คือ บาตรที่ไม่ได้อธิษฐาน ไม่ได้วิกัป
คำว่า บาตรเป็นนิสสัคคีย์ ความว่า บาตรเป็นนิสสัคคีย์พร้อมกับอรุณขึ้น
คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ หรือแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุณีพึงสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้

วิธีสละบาตรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า
ภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า บาตรใบนี้
ของดิฉันเกินกำหนดราตรี เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉันขอสละบาตรใบนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละ
แล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรมวาจา
ว่า “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า บาตรใบนี้ของภิกษุณีชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอ
สละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนบาตรใบนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”

สละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง
กราบเท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า
ทั้งหลาย บาตรใบนี้ของดิฉันเกินกำหนดราตรี เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉันขอสละบาตรใบ
นี้แก่แม่เจ้าทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนบาตรที่เธอสละให้ด้วยกล่าวว่า
“แม่เจ้าทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า บาตรใบนี้ของภิกษุณีชื่อนี้เป็นนิสสัคคีย์ เธอสละแล้ว
แก่แม่เจ้าทั้งหลาย ถ้าแม่เจ้าทั้งหลายพร้อมกันแล้วพึงคืนบาตรใบนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :79 }