เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [2. สังฆาทิเลสกัณฑ์] สังฆาทิเลสสิกขาบทที่ 10 บทภาชนีย์
จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา 2 ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อเธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส
อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง)เพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย(ที่ต้อง)เพราะกรรมวาจา 2 ครั้ง
ย่อมระงับไป
คำว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อน ๆ
คำว่า ยาวตติยกะ คือ ต้องอาบัติเพราะสวดสมนุภาสน์จบ 3 ครั้ง ไม่ใช่
ต้องอาบัติพร้อมกับการล่วงละเมิดวัตถุ
คำว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ทำให้ถูกขับออกจากหมู่
คำว่า สังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ชัก
เข้าหาอาบัติเดิม เรียกเข้าหมู่ ภิกษุณีหลายรูปก็ทำไม่ได้ ภิกษุณีรูปเดียวก็ทำไม่ได้
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สังฆาทิเสส
คำว่า สังฆาทิเสส นี้เป็นการขนานนาม เป็นคำเรียกหมวดอาบัตินั้นนั่นเอง
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สังฆาทิเสส

บทภาชนีย์
ติกสังฆาทิเสส
[731] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่สละ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส

ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :73 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [2. สังฆาทิเลสกัณฑ์] บทสรูป
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[732] 1. ภิกษุณียังไม่ถูกสวดสมนุภาสน์
2. ภิกษุณีผู้สละ
3. ภิกษุณีวิกลจริต
4. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สังฆาทิเสสสิกขาบทที่ 10 จบ

บทสรุป
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคือสังฆาทิเสส 17 สิกขาบท1 ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
คือ 9 สิกขาบทแรก ต้องอาบัติในขณะที่ล่วงละเมิดทีเดียว 8 สิกขาบทหลัง
ต้องอาบัติเมื่อสวดสมนุภาสน์ครบ 3 ครั้ง ภิกษุณีต้องอาบัติข้อใดข้อหนึ่งแล้วต้อง
ประพฤติปักขมานัต2ในสงฆ์ 2 ฝ่าย ภิกษุณีผู้ประพฤติมานัตแล้วถูกสงฆ์เรียกเข้า
หมู่ในสีมาที่มีภิกษุณีสงฆ์ 20 รูป ถ้าภิกษุณีสงฆ์มีคณะ 20 รูปขาดไปแม้เพียง
1 รูป เรียกภิกษุณีนั้นเข้าหมู่ ภิกษุณีนั้นไม่เป็นอันสงฆ์เรียกเข้าหมู่ และภิกษุณี
เหล่านั้นควรถูกตำหนิ นี้เป็นการทำที่สมควรในกรรมนั้น

เชิงอรรถ :
1 สังฆาทิเสส 17 สิกขาบทของภิกษุณีสงฆ์นี้ปรากฏในที่นี้เพียง 10 สิกขาบท เป็นอสาธารณบัญญัติ
คือ ภิกษุสงฆ์ไม่ต้องรักษา ที่เป็นสาธารณบัญญัติ คือ ภิกษุสงฆ์ต้องรักษาด้วย 7 สิกขาบท คือ
(1) สัญจริตตสิกขาบท ว่าด้วยการชักสื่อ (2) ปฐมทุฏฐโทสะ ข้อที่ 1 ว่าด้วยภิกษุณีขัดเคืองมีโทสะ
(3) ทุติยทุฏฐโทสะ ว่าด้วยภิกษุณีขัดเคืองมีโทสะข้อที่ 2 (4) สังฆเภท ว่าด้วยการทำสงฆ์ให้แตกกัน
(5) สังฆเภทานุวัตตกะ ว่าด้วยภิกษุณีผู้ประพฤติตามกล่าวสนับสนุนภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ (6) ทุพพจะ ว่า
ด้วยภิกษุณีเป็นคนว่ายาก (7) กุลทูสกะ ว่าด้วยภิกษุณีผู้ประทุษร้ายตระกูล (ดู วินัยปิฎก แปล 1/299/
342,301/344,385/419,392/432,411/444-445,418/450,425/455,436/466-467)
2 ปักขมานัต คือระเบียบปฏิบัติในการออกจากอาบัติหนักสำหรับภิกษุณี ใช้เวลา 15 วัน (กงฺขา.อ.
174-179)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :74 }