เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [2. สังฆาทิเลสกัณฑ์] สังฆาทิเลสสิกขาบทที่ 10 สิกขาบทวิภังค์
[730] “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟัง ภิกษุณีชื่อนี้กล่าวกับภิกษุณีทั้งหลายผู้ถูกสงฆ์
สวดสมนุภาสน์แล้วอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านจงอยู่คลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่ ภิกษุณี
เหล่าอื่นที่มีความประพฤติอย่างนี้ มีกิตติศัพท์อย่างนี้ มีชื่อเสียงอย่างนี้ มักเบียด
เบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษกันไว้ ก็มีอยู่ในสงฆ์ สงฆ์ก็ไม่ได้ว่ากล่าวภิกษุณี
เหล่านั้นเลย สงฆ์ได้แต่ว่ากล่าวพวกท่านเท่านั้นด้วยความดูหมิ่นเหยียดหยาม
ด้วยความไม่พอใจ ด้วยการข่มขู่ เพราะพวกท่านอ่อนแอ อย่างนี้ว่า ‘น้องหญิง
ทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีความประพฤติเลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มี
ชื่อเสียงในทางไม่ดี มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกัน น้องหญิง
ทั้งหลายพวกท่านพึงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิง
ทั้งหลายเท่านั้น” ภิกษุณีนั้นยังไม่สละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว ก็พึงสวด
สมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีนี้กล่าวกับภิกษุณีทั้งหลายผู้ถูกสงฆ์สวด
สมนุภาสน์แล้วอย่างนี้ว่า ‘พวกท่านจงอยู่คลุกคลีกัน อย่าแยกกันอยู่ ภิกษุณี
เหล่าอื่นที่มีความประพฤติอย่างนี้ มีกิตติศัพท์อย่างนี้ มีชื่อเสียงอย่างนี้ มักเบียด
เบียนภิกษุณีสงฆ์ ชอบปกปิดโทษกันไว้ก็มีในสงฆ์ สงฆ์ก็ไม่ได้ว่ากล่าวพวกเธอเลย
สงฆ์ได้แต่ว่ากล่าวพวกท่านเท่านั้นด้วยความดูหมิ่นเหยียดหยาม ด้วยความไม่พอใจ
ด้วยการข่มขู่ เพราะพวกท่านอ่อนแอ อย่างนี้ว่า “น้องหญิงทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน
มีความประพฤติเลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียด
เบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกัน น้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงแยกกัน
อยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้น” ภิกษุณีนั้น
ยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น แม่เจ้ารูปใด
เห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง
แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่ 3
ฯลฯ
ภิกษุณีชื่อนี้ สงฆ์สวดสมนุภาสน์เพื่อให้สละเรื่องนั้น สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :72 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [2. สังฆาทิเลสกัณฑ์] สังฆาทิเลสสิกขาบทที่ 10 บทภาชนีย์
จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา 2 ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อเธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส
อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง)เพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย(ที่ต้อง)เพราะกรรมวาจา 2 ครั้ง
ย่อมระงับไป
คำว่า ภิกษุณีแม้นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อน ๆ
คำว่า ยาวตติยกะ คือ ต้องอาบัติเพราะสวดสมนุภาสน์จบ 3 ครั้ง ไม่ใช่
ต้องอาบัติพร้อมกับการล่วงละเมิดวัตถุ
คำว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ทำให้ถูกขับออกจากหมู่
คำว่า สังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ชัก
เข้าหาอาบัติเดิม เรียกเข้าหมู่ ภิกษุณีหลายรูปก็ทำไม่ได้ ภิกษุณีรูปเดียวก็ทำไม่ได้
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สังฆาทิเสส
คำว่า สังฆาทิเสส นี้เป็นการขนานนาม เป็นคำเรียกหมวดอาบัตินั้นนั่นเอง
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สังฆาทิเสส

บทภาชนีย์
ติกสังฆาทิเสส
[731] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่สละ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส

ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ต้องอาบัติทุกกฏ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :73 }