เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [2. สังฆาทิเลสกัณฑ์] สังฆาทิเลสสิกขาบทที่ 9 สิกขาบทวิภังค์
คำว่า ปกปิดโทษของกันและกัน คือ ปกปิดความผิดของกันและกันไว้
คำว่า ภิกษุณีเหล่านั้น ได้แก่ ภิกษุณีที่อยู่คลุกคลีกัน
คำว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ อันภิกษุณีเหล่าอื่น
ภิกษุณีทั้งหลายที่ได้เห็นได้ทราบพึงว่ากล่าวตักเตือนว่า “น้องหญิงทั้งหลายอยู่
คลุกคลีกัน มีความประพฤติเลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี
มักเบียดเบียนภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกัน น้องหญิงทั้งหลาย พวกท่าน
จงแยกกันอยู่เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้น”
พึงว่ากล่าวตักเตือนพวกเธอแม้ครั้งที่ 2 พึงว่ากล่าวตักเตือนพวกเธอแม้ครั้งที่ 3
ถ้าพวกเธอสละได้นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีทั้งหลายได้ยิน
แล้วไม่ว่ากล่าวตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีเหล่านั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึง
นำมาท่ามกลางสงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนว่า “น้องหญิงทั้งหลายอยู่คลุกคลีกัน มีความ
ประพฤติเลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียน
ภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกัน น้องหญิงทั้งหลาย พวกท่านจงแยกกันอยู่
เถิด สงฆ์ย่อมสรรเสริญการแยกกันอยู่ของน้องหญิงทั้งหลายเท่านั้น” พึงว่ากล่าว
ตักเตือนพวกเธอแม้ครั้งที่ 2 พึงว่ากล่าวตักเตือนพวกเธอแม้ครั้งที่ 3 ถ้าพวกเธอ
สละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีเหล่านั้นอันสงฆ์พึงสวด
สมนุภาสน์

วิธีสวดสมนุภาสน์และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
ภิกษุทั้งหลาย ก็สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีเหล่านั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุณี
ผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[724] “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีชื่อนี้และชื่อนี้อยู่คลุกคลีกัน มี
ความประพฤติเลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียน
ภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกัน พวกเธอไม่สละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้ว
พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :65 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [2. สังฆาทิเลสกัณฑ์] สังฆาทิเลสสิกขาบทที่ 9 บทภาชนีย์
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีชี่อนี้และชื่อนี้อยู่คลุกคลีกัน มีความ
ประพฤติเลวทราม มีกิตติศัพท์ในทางเสื่อมเสีย มีชื่อเสียงไม่ดี มักเบียดเบียน
ภิกษุณีสงฆ์ ปกปิดโทษของกันและกัน พวกเธอยังไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวด
สมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการสวด
สมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้และชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใด
ไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
ข้าพเจ้ากล่าวข้อความนี้แม้ครั้งที่ 2 ฯลฯ ข้าพเจ้ากล่าวข้อความนี้แม้ครั้ง
ที่ 3 ฯลฯ
ภิกษุณีชื่อนี้และชื่อนี้สงฆ์สวดสมนุภาสน์เพื่อให้สละเรื่องนั้น สงฆ์เห็นด้วย
เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”
จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา 2 ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อเธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส
อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง)เพราะญัตติ อาบัติถุลลัจจัย(ที่ต้อง)เพราะกรรมวาจา 2 ครั้ง
ย่อมระงับไป
สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุณี 2-3 รูปคราวเดียวกัน ไม่พึงสวดสมนุภาสน์
ภิกษุณีมากกว่านั้นคราวเดียวกัน
คำว่า แม้ภิกษุณีเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อน ๆ
คำว่า ยาวตติยกะ คือ ต้องอาบัติเพราะสวดสมนุภาสน์จบ 3 ครั้ง ไม่ใช่
ต้องอาบัติพร้อมกับการล่วงละเมิดวัตถุ
คำว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ทำให้ถูกขับออกจากหมู่
คำว่า สังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ฯลฯ
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สังฆาทิเสส

บทภาชนีย์
[725] กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :66 }