เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [2. สังฆาทิเลสกัณฑ์] สังฆาทิเลสสิกขาบทที่ 8 สิกขาบทวิภังค์
ลำเอียงเพราะชอบ พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชัง พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะหลง
และพวกภิกษุณีลำเอียงเพราะกลัวเล่า’ ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย
ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[716] ก็ภิกษุณีใดถูกตัดสินให้แพ้คดีในอธิกรณ์หนึ่ง โกรธ ไม่พอใจ จึง
กล่าวอย่างนี้ว่า “พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชอบ พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชัง
พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะหลง และพวกภิกษุณีลำเอียงเพราะกลัว” ภิกษุณีนั้น
อันภิกษุณีทั้งหลายพึงว่ากล่าวตักเตือนอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ท่านเมื่อถูกตัดสิน
ให้แพ้คดีในอธิกรณ์หนึ่งโกรธ ไม่พอใจ ก็อย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกภิกษุณี
ลำเอียงเพราะชอบ พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชัง พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะ
หลง และพวกภิกษุณีลำเอียงเพราะกลัว’ แม่เจ้าเองก็ยังลำเอียงเพราะชอบบ้าง
ลำเอียงเพราะชังบ้าง ลำเอียงเพราะหลงบ้าง ลำเอียงเพราะกลัวบ้าง” ภิกษุณี
นั้นอันภิกษุณีทั้งหลายว่ากล่าวตักเตือนอยู่อย่างนี้ก็ยังยืนยันอยู่อย่างนั้น ภิกษุณี
นั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาสน์จนครบ 3 ครั้งเพื่อให้สละเรื่องนั้น ถ้า
เธอกำลังถูกสวดสมนุภาสน์กว่าจะครบ 3 ครั้งสละเรื่องนั้นได้ นั่นเป็นการดี ถ้า
ไม่สละ แม้ภิกษุณีนี้ก็ต้องธรรมคือสังฆาทิเสสที่ชื่อว่ายาวตติยกะ นิสสารณียะ
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ

สิกขาบทวิภังค์
[717] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :59 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [2. สังฆาทิเลสกัณฑ์] สังฆาทิเลสสิกขาบทที่ 8 สิกขาบทวิภังค์
คำว่า ในอธิกรณ์หนึ่ง คือ ที่ชื่อว่า อธิกรณ์ ได้แก่ อธิกรณ์ 4 อย่าง1 คือ
(1) วิวาทาธิกรณ์ (2) อนุวาทาธิกรณ์ (3) อาปัตตาธิกรณ์ (4) กิจจาธิกรณ์
ที่ชื่อว่า ถูกตัดสินให้แพ้คดี พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงผู้แพ้คดี
คำว่า โกรธไม่พอใจ คือ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ
คำว่า กล่าวอย่างนี้ คือ กล่าวว่า พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชอบ ฯลฯ
และพวกภิกษุณีลำเอียงเพราะกลัว
คำว่า ภิกษุณีนั้น คือ ภิกษุณีผู้กล่าวอย่างนั้น
คำว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย คือ อันภิกษุณีเหล่าอื่น
ภิกษุณีทั้งหลายที่ได้เห็นได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนว่า “แม่เจ้า ท่านถูกตัดสิน
ให้แพ้คดีในอธิกรณ์หนึ่งแล้ว โกรธ ไม่พอใจ ก็อย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘พวกภิกษุณี
ลำเอียงเพราะชอบ ฯลฯ และพวกภิกษุลำเอียงเพราะกลัว แม่เจ้าเองก็ยังลำเอียง
เพราะชอบบ้าง ฯลฯ ลำเอียงเพราะกลัวบ้าง” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 2
พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 3 ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินแล้วไม่ตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีนั้น
อันภิกษุณีทั้งหลายพึงพามาท่ามกลางสงฆ์แล้วว่ากล่าวตักเตือนว่า “แม่เจ้า ท่าน
เมื่อถูกตัดสินให้แพ้คดีในอธิกรณ์หนึ่งแล้ว โกรธ ไม่พอใจ ก็อย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า
‘พวกภิกษุณีลำเอียงเพราะชอบ ฯลฯ และพวกภิกษุณีลำเอียงเพราะกลัว’ ดังนี้
แม่เจ้าเองก็ยังลำเอียงเพราะชอบบ้าง ฯลฯ ลำเอียงเพราะกลัวบ้าง” พึงว่ากล่าว
ตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 2 พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 3 ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็น
การดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีนั้นอันสงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์

เชิงอรรถ :
1 อธิกรณ์ 4 อย่าง คือ
1. วิวาทาธิกรณ์ ได้แก่ การเถียงกันว่า นี้เป็นธรรมวินัย นี้ไม่ใช่ธรรมวินัยเป็นต้น
2. อนุวาทาธิกรณ์ ได้แก่ การโจทกันด้วยศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ หรืออาชีววิบัติ
3. อาปัตตาธิกรณ์ ได้แก่ การต้องอาบัติ การปรับอาบัติและแก้ต่างให้พ้นอาบัติ
4. กิจจาธิกรณ์ ได้แก่ กิจธุระของสงฆ์ เช่น อปโลกนกรรม ญัตติกรรม ญัตติทุติยกรรม
ญัตติจตุตถกรรม มีการสวดปาติโมกข์เป็นต้น (ดู วิ.ป. 8/348/222-225)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :60 }