เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [2. สังฆาทิเลสกัณฑ์] สังฆาทิเลสสิกขาบทที่ 7 สิกขาบทวิภังค์
ศึกษาก็ยังมีอยู่ เราจะไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของสมณะหญิงเหล่านั้น’ ดังนี้
แม่เจ้า ท่านจงยินดีเถิด พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติ
พรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 2
พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 3 ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ภิกษุณีนั้นอันสงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์

วิธีสวดสมนุภาสน์และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
ภิกษุทั้งหลาย ก็สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุณีผู้ฉลาด
สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[712] “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีชื่อนี้โกรธ ไม่พอใจ กล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ดิฉันขอบอกลาพระพุทธ ขอบอกลาพระธรรม ขอบอกลาพระสงฆ์ ขอ
บอกลาสิกขา สมณะหญิงจะมีแต่สมณศากยธิดาเหล่านี้กระนั้นหรือ แม้สมณะหญิง
เหล่าอื่นผู้มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษาก็ยังมีอยู่ เราจะไป
ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของสมณะหญิงเหล่านั้น’ เธอไม่ยอมสละเรื่องนั้น ถ้า
สงฆ์พร้อมกันแล้วพึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีชื่อนี้โกรธ ไม่พอใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ดิฉัน
ขอบอกลาพระพุทธ ขอบอกลาพระธรรม ขอบอกลาพระสงฆ์ ขอบอกลาสิกขา
สมณะหญิงจะมีแต่สมณะศากยธิดาเหล่านี้กระนั้นหรือ แม้สมณะหญิงเหล่าอื่นผู้มี
ความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษาก็ยังมีอยู่ เราจะไปประพฤติพรหมจรรย์
ในสำนักของสมณะหญิงเหล่านั้น’ เธอไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุณี
ชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้เพื่อ
ให้สละเรื่องนั้น แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่ 2 ฯลฯ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่ 3
ฯลฯ
ภิกษุณีนี้สงฆ์สวดสมนุภาสน์เพื่อให้สละเรื่องนั้นแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :55 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [2. สังฆาทิเลสกัณฑ์] สังฆาทิเลสสิกขาบทที่ 7 บทภาชนีย์
จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา 2 ครั้ง ต้องอาบัติถุลลัจจัย
จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เมื่อเธอต้องอาบัติสังฆาทิเสส
อาบัติทุกกฏ(ที่ต้อง)เพราะญัตติ ถุลลัจจัย(ที่ต้อง)เพราะกรรมวาจา 2 ครั้ง ย่อม
ระงับไป
คำว่า แม้ภิกษุณีนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อน ๆ
คำว่า ยาวตติยกะ คือ ต้องอาบัติเพราะสวดสมนุภาสน์จบ 3 ครั้ง ไม่ใช่
ต้องอาบัติพร้อมกับการล่วงละเมิดวัตถุ
คำว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ทำให้ถูกขับออกจากหมู่
คำว่า สังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ฯลฯ
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สังฆาทิเสส

บทภาชนีย์
ติกสังฆาทิเสส
[713] กรรม1ที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง ไม่สละ2
ต้องอาบัติสังฆาทิเสส3
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ ไม่สละ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ไม่สละ ต้อง
อาบัติสังฆาทิเสส

เชิงอรรถ :
1 “กรรม” หมายถึงญัตติจตุตถกรรมวาจาสำหรับสวดสมนุภาสน์
2 “ไม่สละ” คือไม่สละเรื่องที่กล่าวด้วยอำนาจความโกรธว่า “ขอบอกลาพระพุทธ” เป็นต้นนั้น
3 ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลังจากที่สงฆ์สวดสมนุภาสน์ครบ 3 ครั้ง

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :56 }