เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [2. สังฆาทิเลสกัณฑ์] สังฆาทิเลสสิกขาบทที่ 7 สิกขาบทวิภังค์
สิกขาบทวิภังค์
[711] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า โกรธไม่พอใจ คือ ไม่ชอบใจ แค้นใจ เจ็บใจ
คำว่า กล่าวอย่างนี้ คือ กล่าวว่า “ดิฉันขอบอกลาพระพุทธ ขอบอกลาพระ
ธรรม ขอบอกลาพระสงฆ์ ขอบอกลาสิกขา สมณะหญิงจะมีแต่สมณศากยธิดา
เหล่านี้กระนั้นหรือ แม้สมณะหญิงเหล่าอื่นผู้มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่
การศึกษาก็มีอยู่ เราจะไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักสมณะหญิงเหล่านั้น”
คำว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีผู้กล่าวอย่างนั้น
คำว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุณีเหล่าอื่น
ภิกษุณีทั้งหลายที่ได้เห็นได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนว่า “แม่เจ้า ท่านโกรธ ไม่
พอใจ ก็อย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ดิฉันขอบอกลาพระพุทธ ขอบอกลาพระธรรม
ขอบอกลาพระสงฆ์ ขอบอกลาสิกขา สมณะหญิงจะมีแต่สมณศากยธิดาเหล่านี้
กระนั้นหรือ แม้สมณะหญิงเหล่าอื่นผู้มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การ
ศึกษาก็ยังมีอยู่ เราจะไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของสมณะหญิงเหล่านั้น’ ดังนี้
แม่เจ้า ท่านจงยินดีเถิด พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติ
พรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 2 พึง
ว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 3 ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินแล้วไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีนั้นอัน
ภิกษุณีทั้งหลายพึงนำมาท่ามกลางสงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนว่า “แม่เจ้า ท่านโกรธ ไม่
พอใจ ก็อย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ดิฉันขอบอกลาพระพุทธ ขอบอกลาพระธรรม
ขอบอกลาพระสงฆ์ ขอบอกลาสิกขา สมณะหญิงจะมีแต่สมณศากยธิดาเหล่านี้
กระนั้นหรือ แม้สมณะหญิงเหล่าอื่นผู้มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :54 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [2. สังฆาทิเลสกัณฑ์] สังฆาทิเลสสิกขาบทที่ 7 สิกขาบทวิภังค์
ศึกษาก็ยังมีอยู่ เราจะไปประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของสมณะหญิงเหล่านั้น’ ดังนี้
แม่เจ้า ท่านจงยินดีเถิด พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว จงประพฤติ
พรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 2
พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 3 ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าไม่สละ ต้อง
อาบัติทุกกฏ ภิกษุณีนั้นอันสงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์

วิธีสวดสมนุภาสน์และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
ภิกษุทั้งหลาย ก็สงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุณีผู้ฉลาด
สามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[712] “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีชื่อนี้โกรธ ไม่พอใจ กล่าว
อย่างนี้ว่า ‘ดิฉันขอบอกลาพระพุทธ ขอบอกลาพระธรรม ขอบอกลาพระสงฆ์ ขอ
บอกลาสิกขา สมณะหญิงจะมีแต่สมณศากยธิดาเหล่านี้กระนั้นหรือ แม้สมณะหญิง
เหล่าอื่นผู้มีความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษาก็ยังมีอยู่ เราจะไป
ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักของสมณะหญิงเหล่านั้น’ เธอไม่ยอมสละเรื่องนั้น ถ้า
สงฆ์พร้อมกันแล้วพึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีชื่อนี้โกรธ ไม่พอใจ กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ดิฉัน
ขอบอกลาพระพุทธ ขอบอกลาพระธรรม ขอบอกลาพระสงฆ์ ขอบอกลาสิกขา
สมณะหญิงจะมีแต่สมณะศากยธิดาเหล่านี้กระนั้นหรือ แม้สมณะหญิงเหล่าอื่นผู้มี
ความละอาย มีความระมัดระวัง ใฝ่การศึกษาก็ยังมีอยู่ เราจะไปประพฤติพรหมจรรย์
ในสำนักของสมณะหญิงเหล่านั้น’ เธอไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์สวดสมนุภาสน์ภิกษุณี
ชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้เพื่อ
ให้สละเรื่องนั้น แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่ 2 ฯลฯ ข้าพเจ้ากล่าวความนี้เป็นครั้งที่ 3
ฯลฯ
ภิกษุณีนี้สงฆ์สวดสมนุภาสน์เพื่อให้สละเรื่องนั้นแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะ
ฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :55 }