เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [2. สังฆาทิเลสกัณฑ์] สังฆาทิเลสสิกขาบทที่ 6 สิกขาบทวิภังค์
ชายผู้นี้จะกำหนัดหรือไม่กำหนัดก็ตามก็ทำอะไรท่านไม่ได้ เพราะท่านไม่กำหนัด
นิมนต์เถิดแม่เจ้า ชายผู้นี้จะถวายสิ่งใด จะเป็นของเคี้ยวหรือของฉันก็ตาม ท่านจง
รับประเคนของนั้นด้วยมือของตนเองแล้วเคี้ยวหรือฉันเถิด ดังนี้ จริงหรือ” พวก
ภิกษุทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ
ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า ‘แม่เจ้า ชายผู้นี้จะกำหนัดหรือไม่
กำหนัดก็ตามก็ทำอะไรท่านไม่ได้ เพราะท่านไม่มีความกำหนัด นิมนต์เถิด แม่เจ้า
ชายผู้นี้จะถวายสิ่งใด จะเป็นของเคี้ยวหรือของฉันก็ตาม ท่านจงรับประเคนของนั้น
ด้วยมือของตนเองแล้วเคี้ยวหรือฉันเถิด ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำ
คนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[705] ก็ภิกษุณีใดกล่าวอย่างนี้ว่า “ชายผู้นั้นจะกำหนัดหรือไม่กำหนัดก็
ตามก็ทำอะไรท่านไม่ได้ เพราะท่านไม่กำหนัด นิมนต์เถิด แม่เจ้า ชายผู้นี้
จะถวายสิ่งใดจะเป็นของเคี้ยวหรือของฉันก็ตาม ท่านจงรับประเคนของนั้นด้วย
มือของตนเองแล้วเคี้ยวหรือฉันเถิด” ดังนี้ แม้ภิกษุณีนี้ต้องธรรมคือสังฆาทิเสส
ที่ชื่อว่าปฐมาปัตติกะ นิสสารณียะ
เรื่องภิกษุณีสุนทรีนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[706] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า กล่าวอย่างนี้ ความว่า ภิกษุณีส่งเสริมด้วยกล่าวว่า “แม่เจ้า ชายผู้นี้
จะกำหนัดหรือไม่กำหนัดก็ตามก็ทำอะไรท่านไม่ได้ เพราะท่านไม่กำหนัด นิมนต์เถิด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :49 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [2. สังฆาทิเลสกัณฑ์] สังฆาทิเลสสิกขาบทที่ 6 บทภาชนีย์
แม่เจ้า ชายผู้นี้จะถวายสิ่งใดจะเป็นของเคี้ยวหรือของฉันก็ตาม ท่านจงรับประเคน
ของนั้นด้วยมือของตนเองแล้วเคี้ยวหรือฉันเถิด” ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีรับประเคนตามคำของภิกษุณีนั้นด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้อง
อาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติถุลลัจจัยทุก ๆ คำกลืน ฉันเสร็จแล้ว ต้องอาบัติ
สังฆาทิเสส
คำว่า แม้ภิกษุณีนี้ พระผู้มีพระภาคตรัสเทียบเคียงภิกษุณีรูปก่อน ๆ
คำว่า ปฐมาปัตติกะ คือ ต้องอาบัติพร้อมกับการล่วงละเมิดวัตถุโดยไม่ต้อง
สวดสมนุภาสน์
คำว่า นิสสารณียะ ได้แก่ ทำให้ถูกขับออกจากหมู่
คำว่า สังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้มานัต ฯลฯ
ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สังฆาทิเสส
ภิกษุณีส่งเสริมด้วยกล่าวว่า “จงรับประเคนน้ำและไม้ชำระฟัน” ต้องอาบัติ
ทุกกฏ ภิกษุณีรับประเคนตามคำของภิกษุณีนั้นด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้อง
อาบัติทุกกฏ

บทภาชนีย์
[707] ฝ่ายหนึ่งกำหนัด ภิกษุณีส่งเสริมด้วยกล่าวว่า “จงเคี้ยวของเคี้ยว
หรือจงฉันของฉันจากมือของยักษ์ เปรต บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉานที่มีกาย
เป็นมนุษย์” ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีรับประเคนตามคำของภิกษุณีนั้นด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้อง
อาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ คำกลืน เมื่อฉันเสร็จ ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ภิกษุณีส่งเสริมด้วยกล่าวว่า “จงรับประเคนน้ำและไม้สีฟัน” ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีรับประเคนตามคำของภิกษุณีนั้นด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติ
ทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :50 }