เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [7. อธิกรณสมถะ] บทสรุป
7. อธิกรณสมถะ
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคืออธิกรณสมถะ 7 เหล่านี้มาถึงวาระที่จะยกขึ้น
แสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับ
[1242] เพื่อระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ (1) พึงให้สัมมุขาวินัย (2) พึง
ให้สติวินัย (3) พึงให้อมูฬหวินัย (4) พึงให้ปฏิญญาตกรณะ (5) พึงให้เยภุยยสิกา
(6) พึงให้ตัสสปาปิยสิกา (7) พึงให้ติณวัตถารกวินัย1

บทสรุป
แม่เจ้าทั้งหลาย ธรรมคืออธิกรณสมถะ 7 อย่าง ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ข้าพเจ้าขอถามแม่เจ้าทั้งหลายในธรรมคืออธิกรณสมถะเหล่านั้นว่า “แม่เจ้า
ทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ 2 ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
ข้าพเจ้าขอถามเป็นครั้งที่ 3 ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วหรือ”
แม่เจ้าทั้งหลายบริสุทธิ์แล้วในธรรมคืออธิกรณสมถะ 7 เหล่านี้ เพราะฉะนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้

อธิกรณสมณะ จบ

เชิงอรรถ :
1 สัมมุขาวินัย วิธีตัดสินในที่พร้อมหน้าสงฆ์ พร้อมหน้าบุคคล พร้อมหน้าวัตถุ และพร้อมหน้าธรรม สติวินัย
วิธีตัดสินโดยประกาศสมมติให้ว่าเป็นพระอริยะผู้มีสติสมบูรณ์ อมูฬหวินัย วิธีตัดสินโดยยกประโยชน์ให้
ว่าต้องอาบัติในขณะเป็นบ้า ปฏิญญาตกรณะ วิธีตัดสินตามคำรับของจำเลย เยภุยยสิกา วิธีตัดสิน
ตามเสียงข้างมาก ตัสสปาปิยสิกา วิธีตัดสินโดยการลงโทษแก่ผู้ทำผิด ติณวัตถารกะ วิธีตัดสินโดยการ
ประนีประนอม
อธิกรณ์ 4 ประการระงับด้วยอธิกรณสมณะแต่ละอย่าง คือ วิวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและ
เยภุยยสิกา อนุวาทาธิกรณ์ ระงับด้วยสัมมุขาวินัยและเยภุยยสิกา อาปัตตาธิกรณ์ ระงับด้วยสัมมุขาวินัย
ปฏิญญาตกรณะ และติณวัตถารกะ กิจจาธิกรณ์ ระงับด้วยสัมมุขาวินัย (กงฺขา.อ. 338-339 ดู องฺ.ทุก.
20/202-203/123)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :400 }


คำนิคม
คำนิคม
แม่เจ้าทั้งหลาย นิทาน ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว คือ
ธรรม คือ ปาราชิก 8 สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ สังฆาทิเสส 17 สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30 สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ ปาจิตตีย์ 166 สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ ปาฏิเทสนียะ 8 สิกขาบท ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ เสขิยะทั้งหลาย ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
ธรรม คือ อธิกรณสมถะ 7 ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้ว
สิกขาบทของพระผู้มีพระภาคนั้นมีเท่านี้มาในสูตร1 นับเนื่องในพระสูตร มาสู่
วาระที่จะพึงยกขึ้นแสดงเป็นข้อ ๆ ตามลำดับทุกกึ่งเดือน
พวกเราทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกัน ไม่วิวาทกัน ศึกษาในพระสูตร
นั้นเทอญ

ภิกษุนีวิภังค์ จบ

เชิงอรรถ :
1 คำว่า “พระสูตร” หมายถึงพระปาติโมกข์นั่นเอง (ดู วิ.อ. 1/45/247-250)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า:401 }