เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [5.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ 1 บทภาชนีย์
สิกขาบทวิภังค์
[1231] คำว่า อนึ่ง ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาค
ตรัสว่า อนึ่ง ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่เป็นไข้ คือ ผู้ขาดเนยใสก็ยังมีความผาสุก
ที่ชื่อว่า ผู้เป็นไข้ คือ ผู้ขาดเนยใสย่อมไม่มีความผาสุก
ที่ชื่อว่า เนยใส ได้แก่ เนยใสที่เกิดจากโค เนยใสจากแพะ เนยใสจากกระบือ
หรือเนยใสของสัตว์ที่มีเนื้อเป็นกัปปิยะ
ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอเพื่อประโยชน์ตน ต้องอาบัติทุกกฏในขณะที่ขอ รับ
ประเคนมาด้วยตั้งใจว่า “จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏเพราะได้มา เธอฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ ทุกๆ คำกลืน

บทภาชนีย์
ติกปาฏิเทสนียะ
[1232] ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นไข้ ออกปากขอเนยใสมาฉัน
ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีไม่แน่ใจ ออกปากขอเนยใสมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นไข้ ออกปากขอเนยใสมาฉัน ต้องอาบัติ
ปาฏิเทสนียะ

ทุกทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นไข้ ออกปากขอเนยใสมาฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุณีไม่แน่ใจ ออกปากขอเนยใสมาฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นไข้ ออกปากขอเนยใสมาฉัน ไม่ต้องอาบัติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :387 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [5.ปาฏิเทสนียกัณฑ์] ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ 1 อนาปัตติวาร
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[1233] 1. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
2. ภิกษุณีเป็นไข้ ออกปากขอมา หายแล้วฉัน
3. ภิกษุณีฉันเนยใสที่เหลือเดนของภิกษุณีผู้เป็นไข้
4. ภิกษุณีฉันเนยใสของญาติ
5. ภิกษุณีฉันเนยใสของคนที่ปวารณาไว้
6. ภิกษุณีออกปากขอเพื่อผู้อื่น
7. ภิกษุณีจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน
8. ภิกษุณีวิกลจริต
9. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

ปาฏิเทสนียสิกขาบทที่ 1 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :388 }