เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 9. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ 2 อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[1188] ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นไข้ โดยสารยานไป ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีไม่แน่ใจ โดยสารยานไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ไม่เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นไข้ โดยสารยานไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าไม่เป็นไข้ โดยสารยานไป ต้องอาบัติทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุณีไม่แน่ใจ โดยสารยานไป ต้องอาบัติทุกกฏ
เป็นไข้ ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นไข้ โดยสารยานไป ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[1189] 1. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
2. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
3. ภิกษุณีวิกลจริต
4. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ 2 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :363 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 9. ฉัตตุปาหนวรรค สิกขาบทที่ 3 นิทานวัตถุ
9. ฉัตตุปาหนวรรค

สิกขาบทที่ 3
ว่าด้วยการใช้เครื่องประดับเอว

เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง
[1190] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเป็นภิกษุณีประจำ
ตระกูลของหญิงคนหนึ่ง สมัยนั้น หญิงนั้นได้กล่าวกับภิกษุณีนั้นดังนี้ว่า “แม่เจ้า
ท่านโปรดนำเครื่องประดับเอวนี้ไปให้หญิงชื่อโน้น” ลำดับนั้น ภิกษุณีนั้นคิดว่า “ถ้า
เราจะใส่บาตรเดินไป เราต้องเสียหายแน่” จึงสวมเครื่องประดับเดินไป เมื่อด้ายขาด
เครื่องประดับเอวตกเรี่ยราดลงบนถนน คนทั้งหลายตำหนิ ประณาม โพนทะนา
ว่า “ไฉนพวกภิกษุณีจึงใช้เครื่องประดับเอวเหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณีผู้
มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีจึงใช้เครื่อง
ประดับเอวเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ
พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีใช้เครื่องประดับเอว
จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงใช้เครื่องประดับเอวเล่า ภิกษุ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :364 }