เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 8. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ 11 นิทานวัตถุ
8. กุมารีภูตวรรค

สิกขาบทที่ 11
ว่าด้วยการบวชให้สิกขมานาด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะ

เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[1166] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่
ให้เหยื่อกระแต เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทานิมนต์ภิกษุเถระทั้งหลาย
ให้ประชุมกันด้วยกล่าวว่า “ดิฉันจักบวชให้สิกขมานา” ครั้นเห็นของเคี้ยวของฉัน
จำนวนมาก จึงนิมนต์พระเถระทั้งหลายให้กลับไปด้วยกล่าวว่า “พระคุณเจ้า ดิฉัน
จะยังไม่บวชสิกขมานา” แล้วนิมนต์พระเทวทัต พระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสะ
พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัตตะให้ประชุมกันบวชให้สิกขมานา
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
ภิกษุณีถุลลนันทาจึงบวชให้สิกขมานาด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะเล่า1” ครั้นแล้ว
ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไป
กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาบวชให้
สิกขมานาด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะจริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระ
พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุ
ถุลลนันทาจึงบวชให้สิกขมานาด้วยปาริวาสิกฉันทะเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำ
อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใส
ยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

เชิงอรรถ :
1 “ด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะ” ด้วยให้ความเห็นชอบของภิกษุค้าง หมายถึงภิกษุณีเป็นเจ้ากี้เจ้าการให้
ภิกษุสละฉันทะโดยยินยอมบ้าง ไม่ยินยอมบ้าง แล้วนิมนต์ภิกษุกลุ่มอื่นมาทำกรรมนั้นใหม่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :351 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 8. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ 11 สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[1167] ก็ภิกษุณีใดบวชให้สิกขมานาด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะ1 ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[1168] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะ คือ เมื่อที่ประชุมเลิกไปแล้ว2
ที่ชื่อว่า สิกขมานา ได้แก่ สามเณรีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม 6 ข้อ ตลอด
2 ปี
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา 2
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ 2 ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

เชิงอรรถ :
1 การให้ปาริวาสิกฉันทะ ให้ฉันทะค้าง คือภิกษุทั้งหลายประชุมกันทำสังฆกรรมแต่ล้มเลิกสละฉันทะ
เสียเพราะเหตุบางอย่าง ถ้าจะทำสังฆกรรมนั้นใหม่ ต้องนำฉันทปาริสุทธิของภิกษุผู้ควรให้ฉันทปาริสุทธิมา
จึงควรทำสังฆกรรมนั้น ถ้าภิกษุทั้งหลายล้มเลิกสละฉันทะในสังฆกรรมแล้วภิกษุณีจัดการให้ทำสังฆกรรม
นั้นใหม่ โดยไม่นำฉันทปาริสุทธิมา ชื่อว่าให้ทำไปด้วยการให้ปาริวาสิกฉันทะ (กงฺขา.อ. 403-404)
2 เมื่อสมาชิกที่ประชุมสละฉันทะล้มเลิก หรือลุกขึ้นด้วยเพียงแต่สละฉันทะด้วยกายหรือวาจา ชื่อว่าให้
ปาริวาสิกฉันทะ (วิ.อ. 2/1168/522)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :352 }