เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 8. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ 3 นิทานวัตถุ
8. กุมารีภูตวรรค

สิกขาบทที่ 3
ว่าด้วยการบวชให้กุมารีที่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ

เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[1130] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีทั้งหลายบวชให้กุมารีมี
อายุครบ 20 ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม 6 ข้อตลอด 2 ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ
ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวว่า “สิกขมานาทั้งหลาย พวกเธอจงมานี่ จงรู้สิ่งนี้ ประเคน
สิ่งนี้ นำสิ่งนี้มา ฉันต้องการสิ่งนี้ จงทำสิ่งนี้ให้เป็นกัปปิยะ”
กุมารีเหล่านั้นกล่าวว่า “แม่เจ้า พวกดิฉันมิใช่สิกขมานา พวกดิฉันเป็น
ภิกษุณี”
บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน
พวกภิกษุณีจึงบวชให้กุมารีมีอายุครบ 20 ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม 6 ข้อตลอด
2 ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ
ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีบวชให้กุมารีมีอายุ
ครบ 20 ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม 6 ข้อตลอด 2 ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ จริงหรือ”
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิ
ว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงบวชให้กุมารีมีอายุครบ 20 ปีผู้ได้
ศึกษาสิกขาในธรรม 6 ข้อตลอด 2 ปีแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติเล่า ภิกษุทั้งหลาย
การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :329 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 8. กุมารีภูตวรรค สิกขาบทที่ 3 นิทานวัตถุ
แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” ครั้นตำหนิแล้ว ทรงแสดงธรรมีกถา แล้วรับสั่ง
กับภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตให้ภิกษุณีสงฆ์ให้วุฏฐานสมมติแก่
กุมารีมีอายุ 20 ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม 6 ข้อตลอด 2 ปี
ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์พึงให้วุฏฐานสมมติอย่างนี้

วิธีให้วุฏฐานสมมติและกรรมวาจาให้วุฏฐานสมมติ
กุมารีมีอายุ 20 ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม 6 ข้อตลอด 2 ปีแล้วนั้นพึง
เข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้าภิกษุณีทั้งหลายแล้วนั่ง
กระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ดิฉันชื่อนี้เป็นกุมารีของแม่เจ้าชื่อนี้
มีอายุครบ 20 ปี ได้ศึกษาในธรรม 6 ข้อตลอด 2 ปีแล้ว ขอวุฏฐานสมมติต่อสงฆ์”
พึงขอแม้ครั้งที่ 2 พึงขอแม้ครั้งที่ 3
ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติทุติยกรรมวาจาว่า
[1131] “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กุมารีชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อนี้มีอายุครบ
20 ปีได้ศึกษาสิกขาในธรรม 6 ข้อตลอด 2 ปี ขอวุฏฐานสมมติต่อสงฆ์ ถ้าสงฆ์
พร้อมแล้วพึงให้วุฏฐานสมมติแก่กุมารีชื่อนี้ผู้มีอายุครบ 20 ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาใน
ธรรม 6 ข้อตลอด 2 ปี นี่เป็นญัตติ
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า กุมารีชื่อนี้ของแม่เจ้าชื่อนี้มีอายุครบ 20 ปี
ได้ศึกษาสิกขาในธรรม 6 ข้อตลอด 2 ปีแล้ว ขอวุฏฐานสมมติต่อสงฆ์ สงฆ์ให้
วุฏฐานสมมติแก่กุมารีชื่อนี้ผู้มีอายุครบ 20 ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม 6 ข้อตลอด
2 ปีแล้ว แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการให้วุฏฐานสมมติแก่กุมารีชื่อนี้ผู้มีอายุครบ 20
ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม 6 ข้อตลอด 2 ปีแล้ว แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใด
ไม่เห็นด้วย แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
วุฏฐานสมมติสงฆ์ให้แล้วแก่กุมารีชื่อนี้มีอายุครบ 20 ปีผู้ได้ศึกษาสิกขาใน
ธรรม 6 ข้อตลอด 2 ปีแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความ
นิ่งนั้นเป็นมติอย่างนี้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :330 }