เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 7. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ 4 สิกขาบทวิภังค์
วุฏฐานสมมติสงฆ์ให้แล้วแก่สิกขมานาชื่อนี้ผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม 6 ข้อ
ตลอด 2 ปีแล้ว สงฆ์เห็นด้วย เพราะฉะนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าขอถือความนิ่งนั้นเป็น
มติอย่างนี้”
พระผู้มีพระภาคครั้นทรงตำหนิภิกษุณีเหล่านั้นโดยประการต่าง ๆ แล้วตรัส
โทษแห่งความเป็นผู้เลี้ยงยาก ฯลฯ” แล้วรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้น
แสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[1086] ก็ภิกษุณีใดบวชให้สิกขมานาผู้ศึกษาสิกขาในธรรม 6 ข้อตลอด
2 ปีแล้วแต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[1087] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ตลอด 2 ปี คือ สิ้น 2 ปี
ที่ชื่อว่า ผู้ศึกษาสิกขา คือ ได้ศึกษาสิกขาในธรรม 6 ข้อแล้ว
ที่ชื่อว่า แต่สงฆ์ยังไม่ได้สมมติ คือ แต่สงฆ์ยังไม่ได้ให้วุฏฐานสมมติด้วย
ญัตติทุติยกรรม
คำว่า บวชให้ คือ อุปสมบทให้
ภิกษุณีตั้งใจว่า “จะบวชให้” แล้วแสวงหาคณะ อาจารย์ บาตรหรือจีวร
หรือสมมติสีมา ต้องอาบัติทุกกฏ จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจา 2
ครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏ 2 ตัว จบกรรมวาจาครั้งสุดท้าย ภิกษุณีผู้เป็นอุปัชฌาย์
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คณะและอาจารย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :303 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 7. คัพภินีวรรค สิกขาบทที่ 4 อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[1088] กรรมที่ทำถูกต้อง1 ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
กรรมที่ทำถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีไม่แน่ใจ บวชให้ ต้องอาบัติทุกกฏ
กรรมที่ทำไม่ถูกต้อง ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกรรมที่ทำไม่ถูกต้อง บวชให้ ต้อง
อาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[1089] 1. ภิกษุณีบวชให้สิกขมานาผู้ได้ศึกษาสิกขาในธรรม 6 ข้อตลอด 2
ปีที่สงฆ์สมมติแล้ว
2. ภิกษุณีวิกลจริต
3. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ 4 จบ

เชิงอรรถ :
1 กรรมที่ทำถูกต้อง หมายถึงกรรมวาจาให้วุฏฐานสมมติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :304 }