เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 6. อารามวรรค สิกขาบทที่ 10 อนาปัตติวาร
ที่ชื่อว่า ชาย ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ ไม่ใช่เปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉาน
ตัวผู้ แต่เป็นมนุษย์ผู้ชายที่รู้เดียงสา สามารถที่จะทำมิดีมิร้ายได้
คำว่า ด้วยกัน คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า สองต่อสอง คือ บุรุษและภิกษุณี
[1065] ภิกษุณีสั่งว่า “จงบ่ง” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อบ่งเสร็จ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ภิกษุณีสั่งว่า “จงผ่า” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อผ่าเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีสั่งว่า “จงชะล้าง” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อชะล้างเสร็จ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ภิกษุณีสั่งว่า “จงทา” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อทาเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีสั่งว่า “จงพัน” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อพันเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุณีสั่งว่า “จงแกะ” ต้องอาบัติทุกกฏ เมื่อแกะเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[1066] 1. ภิกษุณีบอกสงฆ์หรือคณะแล้วจึงให้บ่ง ให้ผ่า ให้ชะล้าง ให้ทา
ให้พันหรือให้แกะ
2. ภิกษุณีมีสตรีผู้รู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อน
3. ภิกษุณีวิกลจริต
4. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ 10 จบ
อารามวรรคที่ 6 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :289 }