เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 6. อารามวรรค สิกขาบทที่ 4 สิกขาบทวิภังค์
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉันแล้ว
ห้ามภัตตาหารแล้วยังฉันในที่อื่นอีกเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคน
ที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ”
แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[1038] ก็ภิกษุณีใดได้รับนิมนต์แล้ว บอกห้ามภัตตาหารแล้ว เคี้ยวของ
เคี้ยว หรือฉันของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีฉันหลายที่ในมื้อเดียวกัน จบ

สิกขาบทวิภังค์
[1039] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ได้รับนิมนต์แล้ว คือ ได้รับนิมนต์ด้วยโภชนะ 5 ชนิด อย่างใด
อย่างหนึ่ง

ลักษณะการบอกห้ามภัตตาหาร
ที่ชื่อว่า บอกห้ามภัตตาหารแล้ว คือ (1) ภิกษุณีกำลังฉัน (2) ทายกนำ
โภชนะมาถวาย (3) ทายกอยู่ในหัตถบาสน้อมถวาย (4) ภิกษุณีบอกห้าม
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ ยกเว้นโภชนะ 5 ข้าวต้ม ยามกาลิก สัตตาหกาลิก
และยาวชีวิก1 นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ 5 อย่าง คือ ข้าวสุก ขนมสด ข้าวตู ปลา เนื้อ

เชิงอรรถ :
1 ดู เชิงอรรถพระวินัยปิฎกแปล เล่ม 2 ข้อ 239 หน้า 396

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :275 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 6. อารามวรรค สิกขาบทที่ 4 อนาปัตติวาร
ภิกษุณีรับประเคนด้วยตั้งใจว่า “จะเคี้ยว จะฉัน” ต้องอาบัติทุกกฏ ฉัน ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[1040] ได้รับนิมนต์แล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าได้รับนิมนต์แล้ว เคี้ยวของเคี้ยว
หรือฉันของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ได้รับนิมนต์แล้ว ภิกษุณีไม่แน่ใจ เคี้ยวของเคี้ยว หรือฉันของฉัน ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ได้รับนิมนต์แล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ได้รับนิมนต์ เคี้ยวของเคี้ยว หรือฉัน
ของฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
ภิกษุณีรับประเคนยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อเป็นอาหาร ต้อง
อาบัติทุกกฏ ฉัน ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำกลืน

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[1041] 1. ภิกษุณีที่ทายกไม่ได้นิมนต์
2. ภิกษุณียังไม่ห้ามภัตตาหาร
3. ภิกษุณีดื่มข้าวต้ม
4. ภิกษุณีบอกเจ้าของแล้วฉัน
5. ภิกษุณีฉันของที่เป็นยาวกาลิก สัตตาหกาลิกและยาวชีวิกเมื่อมี
เหตุผลจำเป็น
6. ภิกษุณีวิกลจริต
7. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ 4 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :276 }