เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 6. อารามวรรค สิกขาบทที่ 2 สิกขาบทวิภังค์
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ด่าอุบาลี
จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า
ทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์ด่าอุบาลีเล่า ภิกษุ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[1029] ก็ภิกษุณีใดด่าหรือบริภาษภิกษุ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องพระกัปปิตกะ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[1030] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ภิกษุ ได้แก่ อุปสัมบัน
คำว่า ด่า คือ ด่าด้วยอักโกสวัตถุ 10 อย่าง1 ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า บริภาษ คือ แสดงอาการที่น่ากลัว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
1 อักโกสวัตถุ คำที่ใช้ด่า 10 อย่าง ในวินัยท่านว่า ได้แก่ โอมสวาท คือคำกล่าวเสียดสี 10 อย่าง (วิ.ป.
8/330/297, วิ.อ. 3/330/473, ดู วินัยปิฎกแปล เล่ม 2 ข้อ 15 หน้า 202) ส่วนในธรรมบท
อรรถกถา หมายถึงคำที่ใช้ด่า 10 อย่าง คือคำด่าว่า (1) เจ้าเป็นโจร (2) เป็นคนพาล (3) เป็นคนหลง
(4) เป็นอูฐ (5) เป็นโค (6) เป็นลา (7) เป็นสัตว์นรก (8) เป็นสัตว์ดิรัจฉาน (9) เป็นคนไม่มีสุคติ
(10) เป็นคนหวังได้เฉพาะทุคติ (ขุ.ธ.อ. 2/15/46)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :269 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 6. อารามวรรค สิกขาบทที่ 2 อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[1031] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ด่าหรือบริภาษ ต้อง
อาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ด่าหรือบริภาษ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ด่าหรือบริภาษ ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์

ทุกกฏ
ภิกษุณีด่าหรือบริภาษอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ด่าหรือบริภาษ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ด่าหรือบริภาษ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ด่าหรือบริภาษ ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[1032] 1. ภิกษุณีมุ่งอรรถ
2. ภิกษุณีมุ่งธรรม
3. ภิกษุณีมุ่งสั่งสอน
4. ภิกษุณีวิกลจริต
5. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ 2 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :270 }