เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 5. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ 10 อนาปัตติวาร
สิกขาบทวิภังค์
[1019] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ดิรัจฉานวิชา หมายถึง ศิลปวิทยาอย่างใดอย่างหนึ่งนอกพระ
ศาสนาที่ไม่มีประโยชน์
คำว่า สอน คือ สอนเป็นบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ บท สอนเป็นอักษร
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ตัวอักษร

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[1020] 1. ภิกษุณีสอนวิชาเขียนหนังสือ
2. ภิกษุณีสอนการท่องจำ1
3. ภิกษุณีสอนพระปริตรเพื่อคุ้มครอง
4. ภิกษุณีวิกลจริต
5. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ 10 จบ
จิตตาคารวรรคที่ 5 จบ

เชิงอรรถ :
1 การท่องจำ คือศาสตร์ว่าด้วยการทรงจำ ซึ่งเมื่อปฏิบัติตามที่กล่าวไว้ จะทรงจำคัมภีร์ได้มากมาย
(กงฺขา.ฏีกา 503)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :263 }