เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 5. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ 9 นิทานวัตถุ
5. จิตตาคารวรรค

สิกขาบทที่ 9
ว่าด้วยการเรียนดิรัจฉานวิชา

เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์
[1013] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์เรียน
ดิรัจฉานวิชา1 ชาวบ้านตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนภิกษุณีจึงเรียนดิรัจฉาน
วิชาเหมือนหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า”
ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดาภิกษุณี
ผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์
จึงเรียนดิรัจฉานวิชาเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลาย
ให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์เรียน

เชิงอรรถ :
1 ในวินัยปิฎกนี้ ดิรัจฉานวิชา คือวิชาที่ไม่มีประโยชน์ ไม่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เป็นวิชาที่เบียดเบียน
ผู้อื่น เช่น (1) วิชาฝึกช้าง, ขี่ช้าง (2) วิชาฝึกม้า, ขี่ม้า (3) วิชาการขับรถ (4) วิชายิงธนู (5) วิชาฟันดาบ
(6) ร่ายมนตร์ทำร้ายผู้อื่นด้วยพิธีอาถรรพณ์ (7) ร่ายมนตร์เสกตะปูฝังดินฆ่าคนหรือเสกเข้าท้อง (8) ร่าย
มนตร์ทำผู้อื่นให้อยู่ในอำนาจ หรือให้เป็นบ้า (9) ร่ายมนตร์ทำผู้อื่นให้เนื้อเลือดเหือดแห้ง (10) ปล่อยสัตว์มี
พิษ (วิ.อ. 2/1015/511, กงฺขา.อ. 388, สารตฺถฏีกา 3/1015/155, กงฺขา.ฏีกา 503, ปาจิตฺยาทิโยชนา
173 ม.) ส่วนในพระสูตร หมายถึงการทำนายอวัยวะ ทำนายตำหนิ ทำนายโชคลาง ทำนายฝัน ทำนาย
ลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ พิธีเบิกแว่นเวียนเทียน พิธีซัดแกลบบูชาไฟ พิธีซัดรำบูชาไฟ
พิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ พิธีเติมเนยบูชาไฟ พิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ พิธีพ่นเครื่องเซ่นบูชาไฟ ฯลฯ (พระ
สุตตันตปิฎกแปล ที.สี. 9/21-27/8-10)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :259 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 5. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ 9 อนาปัตติวาร
ดิรัจฉานวิชา จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มี
พระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีฉัพพัคคีย์จึง
เรียนดิรัจฉานวิชาเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใส
ให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่ง
ให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[1014] ก็ภิกษุณีใดเรียนดิรัจฉานวิชา ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[1015] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ดิรัจฉานวิชา หมายถึง ศิลปวิทยาอย่างใดอย่างหนึ่งภายนอกพระ
ศาสนาที่ไม่มีประโยชน์
คำว่า เรียน คือ เรียนเป็นบท ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ บท เรียนเป็นอักษร
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ ตัวอักษร

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[1016] 1. ภิกษุณีเรียนวิชาเขียนหนังสือ
2. ภิกษุณีเรียนท่องจำ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :260 }