เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 5. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ 6 อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[1000] ก็ภิกษุณีใดให้ของเคี้ยวหรือของฉันด้วยมือตนแก่ชาวบ้าน แก่
ปริพาชก หรือแก่ปริพาชิกา ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[1001] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ชาวบ้าน ได้แก่ บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งที่อยู่ครองเรือน
ที่ชื่อว่า ปริพาชก ได้แก่ นักบวชชายคนใดคนหนึ่งผู้อยู่ในลัทธิปริพาชก ยก
เว้นภิกษุและสามเณร
ที่ชื่อว่า ปริพาชิกา ได้แก่ นักบวชหญิงคนใดคนหนึ่งผู้อยู่ในลัทธิปริพาชิกา
ยกเว้นภิกษุณี สิกขมานา และสามเณรี
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว ได้แก่ เว้นโภชนะ 5 น้ำและไม้สีฟัน ที่เหลือชื่อว่า ของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ 5 อย่าง คือ ข้าวสุก ขนมสด ข้าวตู ปลา
เนื้อ
คำว่า ให้ คือ ให้ด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกาย หรือด้วยการโยนให้
ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ให้น้ำและไม้สีฟัน ต้องอาบัติทุกกฏ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :251 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 5. จิตตาคาวรรค สิกขาบทที่ 6 อนาปัตติวาร
[1002] 1. ภิกษุณีใช้ให้ผู้อื่นให้
2. ภิกษุณีมิได้ให้เอง
3. ภิกษุณีให้โดยวางไว้ใกล้ ๆ
4. ภิกษุณีให้ของไล้ทาภายนอก
5. ภิกษุณีวิกลจริต
6. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ 6 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :252 }