เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 4. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ 10 อนาปัตติวาร
พระบัญญัติ
[974] ก็ภิกษุณีใดจำพรรษาแล้ว ไม่หลีกจาริกไป โดยที่สุดแม้สิ้นระยะ
ทาง 5-6 โยชน์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์1
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[975] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า จำพรรษาแล้ว คือ อยู่จำพรรษาต้น 3 เดือน หรือตลอด
พรรษาหลัง 3 เดือน พอทอดธุระว่า “เราจะไม่หลีกจาริกไปโดยที่สุดแม้สิ้นระยะ
ทาง 5-6 โยชน์” ต้องอาบัติปาจิตตีย์

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[976] 1. ภิกษุณีไม่จาริกไปเมื่อมีอันตราย
2. ภิกษุณีแสวงหาภิกษุณีผู้เป็นเพื่อนไม่ได้
3. ภิกษุณีเป็นไข้
4. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
5. ภิกษุณีวิกลจริต
6. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ 10 จบ
ตุวัฏฏวรรคที่ 4 จบ

เชิงอรรถ :
1 ภิกษุณีออกพรรษาแล้ว เดินทางไปได้เพียง 3 โยชน์แล้วกลับสำนักเดิมโดยใช้เส้นทางใหม่ นับว่าได้หลีก
จาริกไปสิ้นระยะทาง 6 โยชน์ (กงฺขา.อ. 383)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :237 }