เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 4 อนาปัตติวาร
คำว่า เป็นปาราชิก อธิบายว่า ภิกษุณีเมื่อทำวัตถุครบทั้ง 8 ประการย่อม
ไม่เป็นสมณะหญิง ไม่เป็นเชื้อสายศากยธิดา1 เปรียบเหมือนต้นตาลยอดด้วนที่ไม่
อาจงอกได้ต่อไป ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นปาราชิก
คำว่า หาสังวาสมิได้ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าสังวาส ได้แก่ กรรมที่ทำร่วมกัน
อุทเทสที่สวดร่วมกัน ความมีสิกขาเสมอกัน นี้ชื่อว่าสังวาส สังวาสนั้นไม่มีกับ
ภิกษุณีรูปนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า หาสังวาสมิได้

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[677] 1. ภิกษุณีไม่จงใจ
2. ภิกษุณีไม่มีสติ

เชิงอรรถ :
1 เมื่อภิกษุณีล่วงละเมิดแต่ละวัตถุ ต้องอาบัติเล็กน้อยดังนี้
1. ในขณะที่เดินทางไปที่นัดหมาย ต้องอาบัติทุกกฏทุก ๆ ย่างก้าว พอก้าวเข้าสู่
หัตถบาส(ระยะช่วงแขน)ของชาย ต้องอาบัติถุลลัจจัย
2. ยินดีการที่ชายมา ต้องอาบัติทุกกฏ พอชายก้าวเข้าสู่หัตถบาส ต้องอาบัติถุลลัจจัย
ส่วนวัตถุที่เหลืออีก 6 คือ
1. ยินดีการจับมือ 2. ยินดีการจับมุมสังฆาฏิ
3. ยืนเคียงคู่กัน 4. สนทนากัน
5. ตามเข้าไปสู่ที่ลับ 6. น้อมกายเข้าไปเพื่อจะเสพอสัทธรรม
ปรับอาบัติถุลลัจจัยเท่านั้นสำหรับแต่ละวัตถุ
ภิกษุณีต้องอาบัติถุลลัจจัยเพราะล่วงละเมิดแต่ละวัตถุแล้ว ไม่คิดจะสลัดทิ้ง โดยคิดว่า “เราจะต้อง
อาบัติแม้เพราะวัตถุอื่นอีก” แม้จะแสดง(ปลง)อาบัติก็ไม่เป็นอันแสดง อาบัตินั้นยังสะสมอยู่ เมื่อต้องอาบัติ
ถุลลัจจัยเพราะล่วงละเมิดวัตถุอื่น ๆ ก็เป็นการสะสมอาบัติเรื่อยไป พอเมื่อล่วงละเมิดครบวัตถุทั้ง 8 ต้อง
อาบัติปาราชิก แต่ถ้าภิกษุณีนั้นล่วงละเมิดวัตถุใดวัตถุหนึ่งแล้ว คิดสลัดทิ้งไปว่า “บัดนี้เราจักไม่ต้องอาบัติ”
แล้วแสดง(ปลง)อาบัติ อาบัติถุลลัจจัยนั้นย่อมตกไป ไม่สะสมอยู่ แม้จะล่วงละเมิดวัตถุอื่น ๆ อีกจนครบ
ทั้ง 8 ก็ไม่ต้องอาบัติปาราชิก เพราะเธอทำการสลัดทิ้งโดยแสดง(ปลง)อาบัติทุกครั้งที่ล่วงละเมิดวัตถุแต่ละ
อย่าง (วิ.อ. 2/676/468, กงฺขา.อ. 345-346)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :23 }