เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 3. นัคควรรค สิกขาบทที่ 3 สิกขาบทวิภังค์
ขวนขวายใช้ผู้อื่นเย็บเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่
เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้ว
จึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[893] ก็ภิกษุณีใดเลาะหรือใช้ให้เลาะจีวรของภิกษุณีแล้ว ภายหลัง
ภิกษุณีนั้นผู้ไม่มีอันตราย1 ไม่เย็บ ไม่ขวนขวายใชผู้อื่นให้เย็บ พ้น 4-5 วัน2
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ

สิกขาบทวิภังค์
[894] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้
มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
คำว่า ของภิกษุณี ได้แก่ ภิกษุณีรูปอื่น
ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร 6 ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง
คำว่า เลาะ คือ เลาะด้วยตนเอง
คำว่า ใช้ให้เลาะ คือ ใช้ผู้อื่นให้เลาะ

เชิงอรรถ :
1 หมายถึงไม่ตกอยู่ในอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งในอันตราย 10 อย่าง คือ (1) พระราชาเสด็จมา
(2) โจรมาปล้น (3) ไฟไหม้ (4) น้ำหลากมา (5) คนมามาก (6) ผีเข้าภิกษุ (7) สัตว์ร้ายเข้ามาในวัด
(8) งูเลื้อยเข้ามา (9) ภิกษุเป็นโรคร้าย (10) เกิดอันตรายแก่พรมหจรรย์ เช่นมีคนมาจับภิกษุณีสึก
(วิ.อ. 2/893-4/500, ดู วิ. ม. 4/150/159)
2 “พ้น 4-5 วัน” หมายถึงล่วงเลย 5 วัน นับจากวันที่เลาะจีวรนั้น (สารตฺถ.ฏีกา. 3/893/153)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :190 }