เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 2. อันธการวรรค สิกขาบทที่ 5 สิกขาบทวิภังค์
ก่อนฉันภัตตาหาร นั่งบนอาสนะแล้วจากไปโดยไม่บอกเจ้าของบ้าน จริงหรือ” ภิกษุ
ทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า
“ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีเข้าสู่ตระกูลในเวลาก่อนฉันภัตตาหาร นั่งบน
อาสนะแล้วจากไปโดยไม่บอกเจ้าของบ้านเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้
มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้
เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[855] ก็ภิกษุณีใดเข้าไปสู่ตระกูลในเวลาก่อนฉันภัตตาหาร นั่งบนอาสนะ
แล้วจากไปโดยไม่บอกเจ้าของบ้าน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ

สิกขาบทวิภังค์
[856] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้
มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า เวลาก่อนฉันภัตตาหาร คือ ตั้งแต่เวลาอรุณขึ้นจนถึงเที่ยงวัน
ที่ชื่อว่า ตระกูล หมายถึงตระกูล 4 ได้แก่ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์
ตระกูลแพศย์ ตระกูลศูทร
คำว่า เข้าไป คือ ไปในตระกูลนั้น
ที่ชื่อว่า อาสนะ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงที่สำหรับนั่งขัดสมาธิ
คำว่า นั่ง คือ นั่งบนอาสนะนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :168 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 2. อันธการวรรค สิกขาบทที่ 5 อนาปัตติวาร
คำว่า จากไปโดยมิได้บอกเจ้าของบ้าน ความว่า ไม่บอกคนใดคนหนึ่งใน
ตระกูลนั้นผู้รู้เดียงสา ก้าวพ้นชายคา ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เดินล่วงเขตบ้านในที่แจ้ง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[857] ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ได้บอก จากไป ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีไม่แน่ใจ จากไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีสำคัญว่าบอกแล้ว จากไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ติกทุกกฏ
ที่ไม่ใช่ที่สำหรับนั่งขัดสมาธิ ต้องอาบัติทุกกฏ
บอกแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ได้บอก ต้องอาบัติทุกกฏ
บอกแล้ว ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ
บอกแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าบอกแล้ว ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[858] 1. ภิกษุณีไปโดยบอกแล้ว
2. ภิกษุณีผู้นั่งบนอาสนะที่เคลื่อนย้ายไม่ได้
3. ภิกษุณีผู้เป็นไข้
4. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง
5. ภิกษุณีวิกลจริต
6. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ 5 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :169 }