เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 2. อันธการวรรค สิกขาบทที่ 3 นิทานวัตถุ
2. อันธการวรค

สิกขาบทที่ 3
ว่าด้วยการสนทนากับชายในที่แจ้ง

เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททกาปิลานี
[846] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ชายผู้เป็นญาติของภิกษุณีผู้เป็น
อันเตวาสินีของพระภัททกาปิลานีเดินทางจากหมู่บ้านไปกรุงสาวัตถีด้วยธุระบางอย่าง
ลำดับนั้น ภิกษุณีนั้นคิดว่า “พระผู้มีพระภาคทรงห้ามยืนเคียงคู่กัน สนทนากัน
สองต่อสองกับชายในโอกาสที่กำบัง” จึงยืนเคียงคู่กันบ้าง สนทนากันบ้างสองต่อ
สองกับชายในที่แจ้ง
ภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ ตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนนางภิกษุณีจึง
ยืนเคียงคู่กันบ้าง สนทนากันบ้างสองต่อสองกับชายในที่แจ้งเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณี
เหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูล
พระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง
สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณียืนเคียงคู่กันบ้าง
สนทนากันบ้างสองต่อสองกับชายในที่แจ้ง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง
พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย
ไฉนภิกษุณีจึงยืนเคียงคู่กันบ้าง สนทนากันบ้างสองต่อสองกับชายในที่แจ้งเล่า ภิกษุ
ทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่
เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยก
สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :161 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 2. อันธการวรรค สิกขาบทที่ 3 สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[847] ก็ภิกษุณีใดยืนเคียงคู่กันหรือสนทนากันสองต่อสองกับชายในที่แจ้ง
ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีอันเตวาสินีของพระภัททกาปิลานี จบ

สิกขาบทวิภังค์
[848] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้
มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า ที่แจ้ง ได้แก่ สถานที่มิได้กำบังด้วยฝา บานประตู เสื่อลำแพน ม่าน
ต้นไม้ เสา หรือพ้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ที่ชื่อว่า ชาย ได้แก่ มนุษย์ผู้ชาย ไม่ใช่ยักษ์ ไม่ใช่เปรต ไม่ใช่สัตว์ดิรัจฉานตัวผู้
แต่เป็นมนุษย์ผู้ชายที่รู้เดียงสา สามารถยืนเคียงคู่สนทนากันได้
คำว่า กับ คือ โดยความเป็นอันเดียวกัน
คำว่า สองต่อสอง คือ ชาย และภิกษุณี
คำว่า ยืนเคียงคู่กัน คือ ยืนอยู่ในระยะช่วงแขนชาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า หรือสนทนากัน คือ สนทนาอยู่ในระยะช่วงแขนชาย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ยืนเคียงคู่กัน หรือสนทนากันพ้นระยะช่วงแขน ต้องอาบัติทุกกฏ
ยืนเคียงคู่กัน หรือสนทนากันกับยักษ์ เปรต บัณเฑาะก์ หรือสัตว์ดิรัจฉาน
ตัวผู้ที่มีร่างคล้ายมนุษย์ ต้องอาบัติทุกกฏ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :162 }