เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 3 สิกขาบทวิภังค์
สงฆ์ที่ชื่อว่า พร้อมเพรียงกัน คือ มีสังวาสเสมอกัน อยู่ในสมานสังวาสสีมา
ที่ชื่อว่า ถูก ... ลงอุกเขปนียกรรม คือ ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็น
เพราะไม่ทำคืน หรือเพราะไม่สละคืนอาบัติ
คำว่า โดยธรรม โดยวินัย คือ โดยธรรมใด โดยวินัยใด
คำว่า โดยสัตถุศาสน์ คือ โดยคำสั่งสอนของพระชินเจ้า โดยคำสั่งสอนของ
พระพุทธเจ้า
ที่ชื่อว่า ผู้ไม่เอื้อเฟื้อ คือ ไม่ยอมรับสงฆ์ คณะ บุคคล หรือกรรม
ที่ชื่อว่า สงฆ์ยังไม่รับรอง คือ ถูกสงฆ์ขับไล่แล้วยังไม่เรียกกลับเข้าหมู่
ที่ชื่อว่า ยังไม่ได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย คือ ภิกษุทั้งหลาย
ผู้มีสังวาสเสมอกัน1 พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกว่า ผู้เป็นสหาย ภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลง
อุกเขปนียกรรม ไม่มีสังวาสนั้นกับภิกษุเหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึง
ตรัสว่า “ยังไม่ได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย”
คำว่า ประพฤติตามภิกษุ ... นั้น ความว่า ภิกษุนั้นมีความเห็นเช่นใด มี
ความชอบใจเช่นใด มีความพอใจเช่นใด แม้ภิกษุณีนั้นก็เป็นผู้มีความเห็นเช่นนั้น
มีความชอบใจเช่นนั้น มีความพอใจเช่นนั้น
คำว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีผู้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม
คำว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุณีเหล่าอื่น
ภิกษุณีทั้งหลายที่ได้เห็นได้ยินพึงว่ากล่าวตักเตือนเธอว่า “แม่เจ้า ภิกษุนั่นถูก
สงฆ์พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรมโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ เป็นผู้
ไม่เอื้อเฟื้อ สงฆ์ยังไม่รับรอง ยังไม่ได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย แม่เจ้า
อย่าประพฤติตามภิกษุนั่น” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 2 พึงว่ากล่าวตักเตือน
เธอแม้ครั้งที่ 3 ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณี

เชิงอรรถ :
1 มีสังวาสเสมอกัน คือมีกรรมที่ทำร่วมกันมีอุทเทสที่สวดร่วมกันและมีสิกขาเสมอกัน (ดู ข้อ 658,666,
671 และข้อ 676 หน้า 7,12,18,23, วิ.อ. 2/669-670/466)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :16 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [1. ปาราชิกกัณฑ์] ปาราชิกสิกขาบทที่ 3 สิกขาบทวิภังค์
ทั้งหลายได้ยินไม่ว่ากล่าวตักเตือน ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลาย
พึงคุมตัวมาสู่ท่ามกลางสงฆ์ว่ากล่าวตักเตือนว่า “แม่เจ้า ภิกษุนั่นถูกสงฆ์พร้อม
เพรียงกันลงอุกเขปนียกรรมโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ
สงฆ์ยังไม่รับรอง ยังไม่ได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย แม่เจ้าอย่า
ประพฤติตามภิกษุนั่น” พึงว่ากล่าวตักเตือนเธอแม้ครั้งที่ 2 พึงว่ากล่าวตักเตือน
เธอแม้ครั้งที่ 3 ถ้าเธอสละได้ นั่นเป็นการดี ถ้าเธอไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีสงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์

วิธีสวดสมนุภาสน์และกรรมวาจาสวดสมนุภาสน์
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีสงฆ์พึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีนั้นอย่างนี้ คือ ภิกษุณี
ผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่า
[671] “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีชื่อนี้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์
พร้อมเพรียงกันลงอุกเขปนียกรรมโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ เป็นผู้ไม่
่เอื้อเฟื้อ สงฆ์ยังไม่รับรอง ยังไม่ได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย เธอไม่
สละเรื่องนั้น ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงสวดสมนุภาสน์ภิกษุณีชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น
นี่เป็นญัตติ1
แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีนี้ประพฤติตามภิกษุผู้ถูกสงฆ์พร้อมเพรียง
กันลงอุกเขปนียกรรมโดยธรรม โดยวินัย โดยสัตถุศาสน์ เป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ สงฆ์ยัง
ไม่รับรอง ยังไม่ได้ทำภิกษุผู้มีสังวาสเสมอกันให้เป็นสหาย เธอไม่สละเรื่องนั้น สงฆ์
สวดสมนุภาสน์ภิกษุชื่อนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น แม่เจ้ารูปใดเห็นด้วยกับการสวด
สมณุภาสน์ภิกษุณีนี้เพื่อให้สละเรื่องนั้น แม่เจ้ารูปนั้นพึงนิ่ง แม่เจ้ารูปใดไม่เห็นด้วย
แม่เจ้ารูปนั้นพึงทักท้วง
แม้ครั้งที่ 2 ข้าพเจ้าขอกล่าวความนี้ ฯลฯ แม้ครั้งที่ 3 ข้าพเจ้าขอกล่าว
ความนี้ ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 ญัตติ คือ การประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจร่วมกัน

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :17 }