เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 1.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ 9 สิกขาบทวิภังค์
พระบัญญัติ
[829] ก็ภิกษุณีใดเทหรือใช้ให้เทอุจจาระหรือปัสสาวะ หยากเยื่อหรือ
ของเป็นเดนลงบนของเขียว ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ

สิกขาบทวิภังค์
[830] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้พระ
ผู้มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อ อุจจาระ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงคูถ
ที่ชื่อว่า ปัสสาวะ ตรัสหมายถึงมูตร
ที่ชื่อว่า หยากเยื่อ ตรัสหมายถึงขยะมูลฝอย
ที่ชื่อว่า ของเป็นเดน ตรัสหมายถึงอามิสที่เป็นเดน กระดูกเป็นเดน หรือ
น้ำเป็นเดน
ที่ชื่อว่า ของเขียว ได้แก่ บุพพัณชาติ อปรัณชาติ1ที่เขาปลูกไว้สำหรับ
อุปโภคบริโภค
คำว่า เท คือ เทเอง ต้องอาบัติปาจิตตีย์
คำว่า ใช้ให้เท คือ ใช้ผู้อื่นให้เท ต้องอาบัติทุกกฏ ผู้รับคำสั่งครั้งเดียวแต่
เทหลายครั้ง ภิกษุณีผู้สั่งต้องอาบัติปาจิตตีย์

เชิงอรรถ :
1 บุพพัณชาติ อปรัณชาติ ดูข้อ 822-823 หน้า 144-145 (เชิงอรรถ)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :150 }


พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [4. ปาจิตติยกัณฑ์] 1.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ 9 อนาปัตติวาร
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[831] ของเขียว ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นของเขียว เทหรือใช้ให้เท ต้องอาบัติ
ปาจิตตีย์
ของเขียว ภิกษุณีไม่แน่ใจ เทหรือใช้ให้เท ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ของเขียว ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของเขียว เทหรือใช้ให้เท ต้องอาบัติปาจิตตีย์

ทุกทุกกฏ
ไม่ใช่ของเขียว ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นของเขียว เทหรือใช้ให้เท ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ของเขียว ภิกษุณีไม่แน่ใจ เทหรือใช้ให้เท ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ใช่ของเขียว ภิกษุณีสำคัญว่าไม่ใช่ของเขียว เทหรือใช้ให้เท ไม่ต้องอาบัติ

อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ
[832] 1. ภิกษุณีมองดูก่อนแล้วจึงเท
2. ภิกษุณีเทบนคันนา
3. ภิกษุณีบอกเจ้าของก่อนแล้วจึงเท
4. ภิกษุณีวิกลจริต
5. ภิกษุณีต้นบัญญัติ

สิกขาบทที่ 9 จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :151 }